เรื่อง+ภาพ : นพดล
บทความนี้มาจาก Camerart Magazine 254/2018 November
แต่ก็มักจะมีคำถามจากนักถ่ายภาพรุ่นใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยถ่ายภาพกับงานประเภทนี้….จะถ่ายยังไง…ใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่าไหร่…โฟกัสอย่างไร….วันนี้…ก็ขอสรุปวิธีการถ่ายภาพ การแข่งเรือยาวแบบรวบรัดไว้สำหรับนักถ่ายภาพรุ่นใหม่ได้ฝึกหัดกันดู…คือ…บันได 3 ขั้น สำหรับถ่ายภาพการแข่งเรือยาว…นั่นหมายความว่า คุณมีกล้องและเลนส์พร้อมแล้ว ซึ่งเลนส์ที่เหมาะกับการถ่ายภาพประเภทนี้ ควรใช้เป็นเลนส์ที่มีช่วงความยาวโฟกัสระหว่าง 70-400 มม. ช่วงเลนส์ที่ใช้งานสะดวกก็คือ 70-300 มม. ซึ่งยังขึ้นกับระยะห่างระหว่างจุดที่ถ่ายภาพ กับการแข่งขันอีกด้วย
ภาพถ่ายที่ ความไวชัตเตอร์ 1/30 sec., รูรับแสง f/16, ISO 100
บันไดขั้นที่ 1 การปรับตั้งกล้อง…การปรับตั้งกล้อง สำหรับการถ่ายภาพ ไล่กันตั้งแต่ WB ถ้าไม่แน่ใจใช้เป็น Auto WB…ความไวแสงในการถ่ายภาพ ขนาด ISO 100-800 แล้วแต่สภาพแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้งาน…ระบบโฟกัสภาพ ตั้งเป็น AF-C หรือ AI Servo…ระบบถ่ายภาพ ถ้าวัดแสงเองตั้งแบบ Manual แต่ถ้าต้องการสะดวก ตั้งระบบ [S] หรือ [Tv] Shutter Priority AE…ขนาดความเร็วชัตเตอร์ ขึ้นกับความต้องการว่า ต้องการให้หยุดการเคลื่อนไหว ก็จะอยู่ที่ความเร็วชัตเตอร์สูง 1/500 วินาที หรือ ถ้าต้องการถ่ายภาพให้เกิดการไหวเป็นทาง ความไวชัตเตอร์ก็จะต่ำ ระหว่าง 1/15-1/60 วินาที….ขนาดรูรับแสง ควรอยู่ที่ระดับ F8 ปรับตั้งให้สัมพันธ์กันโดยใช้ขนาด ISO เป็นตัวร่วมได้…สุดท้าย ตั้งการถ่ายภาพแบบถ่ายภาพต่อเนื่อง…นี่คือขั้นตอนเริ่มต้นก่อนการถ่ายภาพ
บันไดขั้นที่ 2 เลือกทิศแสง…การเลือกตำแหน่งถ่ายภาพ ดูจากทิศแสง ควรจะได้ตำแหน่งที่ถ่ายภาพตามแสงจะสะดวกที่สุดให้สีสันได้สดใสที่สุด การถ่ายย้อนแสงความสดใสของสีสัน จะลดลง
บันไดขั้นที่ 3 เลือกความเร็วชัตเตอร์ และ การถ่ายภาพ…การเลือกความเร็วชัตเตอร์ในการถ่ายภาพ ขึ้นกับความต้องการของช่างภาพ การตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้สูงขนาด 1/400 หรือ 1/500 วินาทีขึ้นไป จะมีโอกาสได้ภาพที่หยุดนิ่ง ได้สีหน้าความพยายามของฝีพาย หยุดการกระเซ็นของน้ำได้เป็นหยดๆ การถ่ายล็อคโฟกัสเข้าที่เรือที่ต้องการถ่ายภาพแล้วแพนตาม…ความเร็วชัตเตอร์อีกแบบหนึ่งที่นิยมกันก็คือ ตั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำขนาด 1/15 ถึง 1/60 วินาที วิธีนี้จะได้ภาพที่มีการไหวแสดงถึงการเคลื่อนไหวของฝีพาย และ ฉากหลังพื้นน้ำวิ่งเป็นทาง การถ่ายก็ดำเนินแบบเดียวกัน ล็อคโฟกัสไปยังจุดที่ต้องการแล้วแพนกล้องตามกดชัตเตอร์ต่อเนื่อง การแพนกล้องช้าเร็วมีผลต่อภาพถ่าย ต้องฝึกฝน ให้การแพนกล้องสัมพันธ์กับจัดโฟกัสจะได้ภาพที่ดี
ภาพถ่ายที่ ความไวชัตเตอร์ 1/500 sec., รูรับแสง f/8, ISO 400
ภาพถ่ายที่ ความไวชัตเตอร์ 1/30 sec., รูรับแสง f/16, ISO 100
ภาพถ่ายที่ ความไวชัตเตอร์ 1/500 sec., รูรับแสง f/8, ISO 400
เพียงเท่านี้ คุณก็เริ่มฝึกการถ่ายภาพได้แล้ว ถ้าปีนี้ไม่ทัน ปีหน้ายังมีอีกหลายสนาม เกือบทั่วทุกภาคของไทย ทั้งใกล้และไกล ให้เลือกถ่ายภาพกันเลยครับ… ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพนะครับ…
ภาพถ่ายที่ ความไวชัตเตอร์ 1/500 sec., รูรับแสง f/8, ISO 400