เรื่อง+ภาพ : ศุภฤกษ์ นฤเบศร์ไกรสีห์
บทความนี้มาจาก Camerart Magazine ฉบับ 209/2015 Fevruary
บทที่ 6 การทดสอบหาค่า Dynamic Range
เราสามารถทดสอบหาช่วงการรับแสงของกล้องที่ใช้ว่ามีช่วงการรับแสงกว้างเท่าไร โดย
- ติดเลนส์เทเลโฟโต้หรือเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ พยายามหาเลนส์ที่มีอาการมืดขอบภาพต่ำมากๆ เช่น 85 มม. 105 มม. 135 มม.
- ใช้กระดาษไขปิดหน้าเลนส์ที่ฟิลเตอร์ 1 ชั้น แล้วปิดที่ฮูดเลนส์อีก 1 ชั้น เพื่อกระจายแสงให้สม่ำเสมอทั่วภาพ
- เล็งกล้องไปยังท้องฟ้าที่มีแสงสม่ำเสมอ ปรับระยะชัดไกลสุด แหล่งกำเนิดแสงต้องใช้แสงต่อเนื่องเท่านั้น ห้ามใช้แสงประดิษฐ์กระแสสลับเพราะจะมีการกระพริบ เช่น ฟลอดฟลูออเรสเซนท์ ไฟทังสเตน
- ตั้งระบบต่างๆ ของกล้องเอาไว้ที่ มาตรฐานทั้งหมด ทั้ง Sharpness, Saturation, Contrast, Brightness ส่วน Noise Reduction ให้ปิดทั้งหมด ระบบสีแบบ Adobe RGB ไฟล์ภาพเป็น TIFF File ระบบวัดแสงเฉพาะจุดกลางภาพ ปิดระบบ Auto Focus
- ตั้งช่องรับแสงปานกลาง เช่น f/8 เพื่อลดอาการมืดที่ขอบภาพ และความไวแสงไว้ที่ ISO 100-200
- ถ่ายภาพโดยใช้ระบบถ่ายภาพแบบ M เปิดรับแสงอันเดอร์ 10 stop ไปยังโอเวอร์ 10 stop แบ่งขั้นละ 0.5 stop จากนั้นโหลดภาพเข้าคอมพิวเตอร์
ถ่ายภาพไล่ค่าเปิดรับแสง จะได้ภาพเป็นขาว เทา ดำ ไล่สเต็ปลักษณะนี้
7. ตั้งค่าโปรแกรม Photoshop ที่ Edit > Color Setting ตามภาพ
- เมื่อเปิดภาพใน Photoshop ช่วงเปิดภาพหากโปรแกรมถามว่าให้ใช้ Color Profile อะไร ให้ตอบว่า ต้นฉบับ หรือ Adobe RGB ตามที่ตั้งไว้
- ให้ตั้งค่าการทำงานของ eye-droper ให้วัดแบบเฉลี่ย 5×5 หรือมากกว่าเล็กน้อย ห้ามวัดจุดเดียวเพราะภาพดิจิตอลจากกล้องจะมี Noise เสมอ ถ้าวัดจุดเดียวจะพลาดได้
10. ตั้งค่าการแสดงผลการวัดที่ของโปรแกรม Photoshop วัดค่าสีในโหมด Lab ที่ให้ใช้ค่า Lightness แทนค่า RGB เพราะภาพที่ถ่ายได้จะไม่ได้เป็นขาวดำแท้ๆ แม้จะเซ็ท Custom WB ก็ตาม ทำให้ค่า R G และ B ไม่เท่ากันไม่สะดวกกับการวัดค่า การใช้ค่า Lightness จะสะดวกกว่าและจดจำได้ง่ายกว่าด้วย
- บันทึกค่า Lightness กับค่าการเปิดรับแสงเอาไว้ โดยใช้ Microsoft Excell จะได้กราฟดังภาพ (หากทำกราฟของ Excell ไม่เป็นสามารถโหลดไฟล์เพื่อไปป้อนข้อมูลได้ที่นี่) สีของค่า Lightness แต่ละค่าให้ดูแถบสีขาวดำทางซ้ายมือ
- การปรับค่าเกี่ยวกับภาพหลายตัวจะมีผลต่อกราฟ เช่น โหมดสี, Contrast, D-Lighting ฯลฯ หากอยากรู้ว่าแต่ละฟังก์ชั่นจะทำให้สีภาพเปลี่ยนไปอย่างไรก็แนะนำให้ทดสอบเพิ่มเติมได้
กราฟค่าเปิดรับแสงกับ L นี้เรียกว่า Characteristic Curve (ซึ่งเลียนแบบจาก Characteristic Curve ของฟิล์มถ่ายภาพ) เป็นกราฟที่ตรงไปตรงมา จะบอกว่า เมื่อแสงเข้าเซ็นเซอร์เท่านี้ สีที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร หากสามารถจดจำกราฟและสีของ Lightness ได้ การกำหนดค่าวัดแสงจะง่ายขึ้นมาก (เมื่อใช้ระบบวัดแสงเฉพาะจุดเท่านั้น)
ตัวอย่างการทดสอบกล้อง Nikon D3 กับค่า Setting ต่างๆ
ภาพที่มีความแตกต่างของแสงสูง ต้องการ Dynamic Range สูงมากตามไปด้วย จะช่วยให้รายละเอียดส่วนสว่างและมืดปรากฏได้ชัดเจนขึ้น