เรื่อง : นพดล

บทความนี้มาจาก Camerart Magazine 253/2018 Ocetober

เลนส์ของไลก้า

เรื่องราวของ LEICA เกี่ยวกับเรื่องเลนส์ และความไม่สิ้นสุดของการหาความยอดเยี่ยมเพราะกล้องจะดีก็ต้องมีเลนส์ที่ดีด้วย ความจริงข้อนี้ Oskar Barnack ได้ตระหนักดี จึงขอให้ Max Berek ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และมีความรอบรู้ด้านเลนส์เป็นผู้ออกแบบเลนส์ใหม่ให้เป็นที่รู้จักอย่างดีว่าเลนส์ตัวแรกของ LEICA คือ 50 มม. F3.5 ELMAR ซึ่งการออกแบบนั้นอยู่บนพื้นฐานของ Cooke Triplet ในปี 1834 ของ H. Dennis Taylor โดยที่ ศาสตราจารย์ Berek ได้ดัดแปลงให้เข้ากับ LEICA ในตอนแรกได้เรียกว่า Leitz Anastigmat มีชิ้นเลนส์ 5 ชิ้นเลนส์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มหลังสุดประกอบด้วยเลนส์ 3 ชิ้นติดกัน ซึ่งเป็นแก้วคนละชนิดกัน เพื่อลดความคลาดของสี ซึ่งเกิดในเลนส์ทุกตัว

เลนส์ตัวนี้มีปัญหาเล็กน้อยทำให้ต้องเรียกว่า Anastigment หลังจากแก้ปัญหานี้ได้จึงเปลี่ยนเป็น ELMAR ซึ่งมาจาก Ernst Leitz และชื่อของศาสตราจารย์ Max Berek ปรากฏว่ามี LEICA I บางตัวนี้มี Anastigmat และบางตัวมี ELMAR

ในขณะเดียวกันห้องปฏิบัติการของ Leitz ได้พัฒนาแก้วชนิดใหม่ซึ่งมีการหักเหแสงสูงกว่าทำให้ศาสตราจารย์ Berek สามารถออกแบบเลนส์ใหม่โดยใช้ชิ้นเลนส์เพียง 4 ชิ้น ซึ่งมีชิ้นเลนส์ 2 ชิ้น อยู่ในกลุ่มหลัง ทำให้เลนส์ ELMAR เกิดขึ้นในปี 1925

เมาท์เกลียวในปี 1954

เลนส์ 50 MM. F3.5 ELMAR

เลนส์ 50 มม. ELMAR f3.5 เป็นเลนส์ที่มีอายุมากสุดในตระกูล LEICA มันได้รับการผลิตในหลายรูปแบบ nickel และ chrome plated ตั้งแต่ 1925 ถึง 1959 ทั้งแบบถอดเปลี่ยนไม่ได้ และถอดเปลี่ยนได้มีทั้งสิ้น 360,000 ชุด และอีก 13,000 ชุด ผลิตระหว่าง 1954 ถึง 1961 เป็นแบบเมาท์เขี้ยวสำหรับรุ่น M สำหรับรุ่นนี้คือ  ELMAR สำหรับแบบสกูรเม้าท์กับ ELMAR สำหรับเมาท์เขี้ยว

มีมุมรับภาพ (สำหรับกรอบ 24 x 36 มม. ด้านทแยง) 46 องศา รูรับแสงแคบสุด f18 หรือ 22 ขึ้นกับชนิด มีระยะโฟกัสใกล้สุด 1 ฟุต โดยปกติ แต่มีตัวอย่างของเลนส์ ซึ่งสามารถโฟกัสได้ 50 มม. ELMAR f3.5 ได้ถูกแทนที่โดยเลนส์ขนาด f2.8 และเลนส์ที่ผลิตหลังเดือนเมษายนปี 1946 เป็นเลนส์ที่มีการเคลือบผิวหน้า

เลนส์มุมกว้าง 35 MM. F3.5 ELMAR

หลังจากได้แนะนำเลนส์ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ในปี 1931 จึงต้องทำการผลิตเลนส์หลายชนิด เลนส์ใหม่ 3 ตัว ได้เกิดขึ้น ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของ ELMAR Triplet ที่มีชิ้นเลนส์ 4 ชิ้น และ 2 ชิ้น หลังประกบกัน และ ยังมีเลนส์ 50 มม. ซึ่งอยู่บนพื้นฐานการออกแบบคนละอย่างกัน เลนส์ทั้ง 3 ตัว คือ เลนส์มุมกว้าง 35 มม. F3.5 ใช้รหัสว่า EKUKZ ผลิตระหว่างปี 1931 กับ 1950 เป็นจำนวนมาก เป็นเลนส์คู่ใจสำหรับนักท่องเที่ยว มุมรับภาพ 64 องศา รูรับแสงแคบสุด f18 โฟกัสใกล้สุด 1 เมตร ผลิตประมาณ 42,500 ตัว

เลนส์ 135 MM. F4.5 ELMAR

ในปี 1931 ได้มีการแนะนำเลนส์เทเลตัวหนึ่งคือ 135 มม. f4.5 ELMAR กระบอกเลนส์สีดำ ผลิตเพียงไม่กี่พันตัวระหว่างปี 1931 ถึง 1936 เนื่องจากถูกแทนที่โดย HEKTOR ซึ่งมีทางยาวโฟกัสเท่ากัน เลนส์ตัวนี้มีมุมรับภาพ 18 องศา รูรับแสงแคบสุด f36 โฟกัสใกล้สุด 1.5 เมตร ใช้รหัส EFERN ผลิตจำนวนประมาณ 5,200 ตัว

เลนส์ 90 MM. F4.5 ELMAR

เลนส์ตัวที่ 3 คือ 90 มม. f4 ELMAR เข้าสู่ตลาดในปี 1932 แม้ว่าจะเริ่มผลิตในปี 1931 ผลิตจนกระทั่งปี 1964 ซึ่งมีอายุยืนยาวรองจาก 50 มม. แต่ถ้าเทียบในระบบเมาท์เขี้ยวจะมีอายุยาวกว่า เพราะผลิตถึงปี 1968 มุมรับภาพ 27 องศา รูรับแสงแคบสุด f32 รุ่นหลังสุด f36 โฟกัสใกล้สุด 1 เมตร ใช้รหัสซึ่ง ELANG จำนวนผลิตประมาณ 114,000 ตัว

เลนส์ 50 MM. F2.5 HEKTOR

ในระยะเดียวกัน ได้มีการแนะนำเลนส์ไวแสง 50 มม. คือ 50 มม. f2.5 HEKTOR ซึ่งออกแบบใหม่ใช้ชิ้นเลนส์ 6 ชิ้น 3 กลุ่ม ที่มาของชื่อ คือ เนื่องจาก Leitz เป็นคนมองโลกในแง่ดีจึงได้นำชื่อ HEKTOR ซึ่งเป็นชื่อสุนัขของ ศาสตราจารย์ Berek มา เป็นชื่อเลนส์ เลนส์นี้ผลิตระหว่างปี 1931 ถึง 1937 เลนส์รุ่นนี้บางตัว ได้ติดตายตัวบนกล้อง LEICA I มุมรับภาพ 46 องศา รูรับแสงแคบสุด f18 โฟกัสใกล้สุด 1 เมตร ใช้รหัส HEKTOR จำนวนผลิตประมาณ 10,300 ตัว

เลนส์ 73 MM. F1.9 HEKTOR

เลนส์ไวแสงในระบบ HEKTOR อีกตัวตามมาในปี 1932 คือเลนส์ขนาด 73 มม. f1.9 HEKOTOR ซึ่งไวแสงมาก สร้างเพื่อให้ใช้ในที่มีแสงน้อย มุมรับภาพ 33 องศา รูรับแสงแคบสุด f25 โฟกัสใกล้สุด 1.5 เมตร ช่วงแรกใช้รหัส HEKON แล้วเปลี่ยนเป็น HEGRA เลนส์นี้สร้างขึ้นโดยมีเมาท์โฟกัส 2 ลักษณะ คือ แบบหมุน กับแบบดันเข้าออก ซึ่งหมายถึงส่วนหน้าของเลนส์ไม่ได้หมุน ลักษณะหลังนี้ สร้างเพื่อให้ใช้กับฟิล์เตอร์เชิงเส้นพิเศษสำหรับระบบสีของ Agfa ซึ่งต้องไม่มีการหมุนขณะโฟกัส เลนส์รุ่นล่าสุดท้ายผลิตในปี 1942 ปริมาณการผลิต 7,000 โดยประมาณ

เลนส์ 105 MM. F6.3 ELMAR

เลนส์ตัวสุดท้ายในกลุ่มนี้คือ 105 มม. f6.3 ELMAR ผลิตออกมาในปี 1932 มีชื่ออีกอย่างว่า “montain” ELMAR เนื่องจากขนาดเล็กและเบา ผลิตจนถึงปี 1937 กระบอกเลนส์สีดำ มุมรับภาพ 23 องศา รูรับแสงแคบสุด f36 โฟกัสใกล้สุด 2 เมตร แต่สเกลที่เขียนไว้น้อยสุด 3 เมตร ใช้รหัส ELZEN จำนวนผลิต 9 4,000 ตัว

เลนส์ 50 MM. F2 SUMMAR

เลนส์ไวแสงรุ่นใหม่รุ่นนี้ เปิดตัวในปี 1933 คือ 50 มม. f2 SUMMAR ซึ่งนี้เป็นชื่อเก่าสำหรับเลนส์ที่ออกแบบ แบบเป็น Symmetrical 6 ชิ้นเลนส์ เช่นกัน สร้างระหว่างปี 1933 ถึง 1940 เลนส์ตัวแรกทำเป็นแผ่นนิเกิลเมาท์แข็ง ต่อมาเมาท์ สามารถพับได้ และท้ายสุดทำเป็นแผ่นโครม มุมรับภาพ 46 องศา รูรับแสงแคบสุด f12.5 ปรับระยะชัดใกล้สุด 1 เมตร  ใช้รหัส SUMUS  จำนวนประมาณ 123,000 ตัว

เลนส์ 135 MM. F4.5 HEKTOR

ในปี 1933 ยังมีการออกแบบ HEKTOR อีกแบบหนึ่งเพื่อแทนที่ 135 มม. ELMAR คือ 135 มม. f4.5 HEKTOR ชิ้นเลนส์ 4 ชิ้น มี 2 ชิ้น ติดกัน ทำเป็นเมาท์เกลียวจนถึงปี 1960 และ ในปี 1954 มีการผลิตทำเป็นเมาท์เขี้ยวประมาณ 70,000 ตัว ผลิตเป็นเมาท์เกลียวประมาณ 30,000 แบบเมาท์เขี้ยว มุมรับภาพ 18 องศา รูรับแสงแคบสุด f32 รุ่นหลังเปลี่ยนสเกลใหม่ทำเป็น f3.6 โฟกัสใกล้สุด 1.5 เมตร ใช้รหัส HEFAR

เลนส์ 28 MM. F6.3 HEKTOR

HEKTOR อีกรุ่นหนึ่ง คือ เลนส์มุมกว้าง 28 มม. f6.3 HEKTOR ในปี 1935 มีชิ้นเลนส์ 5 ชิ้น 2 กลุ่ม หน้าหลังเป็นชิ้นเลนส์ประกบกัน ผลิตเป็นระยะเวลา 20 ปี เมาท์สีโครม มุมรับภาพ 75 องศา รูรับแสงแคบสุด f25 โฟกัสใกล้สุด 1 เมตร ใช้รหัส HOOPY ผลิต 10,000 ตัว

เลนส์ TEELYT ตัวแรกของไลก้า

ปี 1935 มีเลนส์น่าสนใจอีก 2 ตัว คือ Thambar และเลนส์ TELYT ตัวแรก THAMBAR เป็นเลนส์ที่น่าสะสมมากสุดในบรรดาเลนส์ของ Leitz เป็นเลนส์ HEKTOR อย่างง่าย ใช้ 4 ชิ้นเลนส์ คู่กลางประกบกัน มีฟิลเตอร์แบบเคลือบเงินเป็นจุดตรงกลาง เพื่อผลในการทำให้เกิดความนุ่มนวลจุดกลางจะตัดแสงที่ผ่านตรงกลางเลนส์ และให้แสงจากส่วนอื่นผ่าน ซึ่งจะเกิดความคลาดขึ้นเป็นผลทำให้เกิดความนุ่มนวล ปริมาณความนุ่มควบคุมได้โดยการควบคุมขนาดรูรับแสง THAMBAR สร้างจนกระทั่งปี 1942 มีทำแบบเมาท์สั้นสำหรับกรอบสะท้อน PLOOT กระบอกเลนส์สีดำ มุมรับภาพ 27 องศา รูรับแสงแคบสุด f18 โฟกัสใกล้สุด 1 เมตร ใช้รหัส TOOPY ผลิต 3,000 ตัว

เลนส์ 200 MM. F4.5 TELYT

เลนส์เทเลโฟโต้ (คือ เลนส์ที่มีความยาวทางกายภาพสั้นกว่าความยาวโฟกัส) เปิดตัวปี 1935 พร้อมกับกรอบสะท้อน ซึ่งเพิ่มความสามารถในการใช้งาน เลนส์นี้ คือ 200 มม. f4.5 TELYT ทำเพื่อใช้กับกรอบสะท้อน ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 5 ชิ้นเลนส์ 4 กลุ่ม มุมรับภาพ 12 องศา รูรับแสงแคบสุด f36 โฟกัสใกล้สุด 3 เมตร ใช้รหัส OTPLO เฉพาะตัวเลนส์และ ชื่อ TOOLP เมื่อมีกรอบสะท้อน ใช้รหัส PLOOT เลนส์สร้างใหม่ในปี 1960 มี f4 จำนวนผลิต 11,500 ตัว กรอบสะท้อน PLOOT ภายหลังได้กลายเป็น VISOFLEX I

เลนส์ 400 MM. F5 TELYT

เลนส์ TELYT อีกตัว คือ 400 mm. f5 ผลิตในปี 1937 ประกอบด้วยเลนส์ 5 ชิ้น 4 กลุ่ม ผลิตจนกระทั้งปี 1966 มี 2 แบบ ซึ่งต่างกันที่รูปร่างของเมาท์สีดำ และเลนส์นี้ต้องใช้กับ POOLT มุมรับภาพ  6 องศา รูรับแสงแคบสุด f32 โฟกัสใกล้สุด 8 เมตร ใช้รหัส TLCOO สำหรับเลนส์ ถ้ารวม PLOOT ชื่อ TLOOB เลนส์นี้ออกแบบในปี 1934 และบางตัวส่งให้นักข่าวสำหรับโอลิมปิกปี 1936 ที่ Berlin ผลิตประมาณ 4,000 ตัว

เลนส์ 50 MM. F1.5 XENON

เลนส์ไวแสงสุดยุคก่อนสงครามเปิดตัวปี 1936 คือ XENON 50 มม. f1.5 ผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ TTH และถูกพัฒนาโดย Leitz ผลิตจนกระทั่งปี 1950 ใช้ชิ้นเลนส์ 7 ชิ้น 5 กลุ่ม คุณภาพของเลนส์เริ่มเป็นที่ปรากฏเมื่อเริ่มมีการเคลือบผิวหน้า มุมรับภาพ 46 องศา รูรับแสงแคบสุด f9 โฟกัสใกล้สุด 1 เมตร ใช้รหัส XEMOO ผลิตประมาณ 6,000 ตัว

เลนส์ 50 MM. F2 SUMMITAR

ในปี 1939 เลนส์ 50 มม. f2 SUMMITAR ได้ถูกนำมาแทนที่เลนส์ SUMMAR สำหรับเลนส์ไวแสงปกติของ LEICA เป็นการออกแบบที่ก้าวหน้าของตระกูล Gauss ใช้ชิ้นเลนส์ 7 ชิ้น 4 กลุ่ม ในแบบพับเก็บได้และส่วนหน้าไม่หมุนเมาท์นี้ใช้ได้กับฮูดที่พับได้ทำขึ้นครั้งแรกสำหรับ XENON มุมรับภาพ 46 องศา รูรับแสงแคบสุด f12.5 สำหรับเลนส์ในพวกก่อนสงคราม และ f16 ในรุ่นหลัง โฟกัสใกล้สุด 1 เมตร ผลิตประมาณ 170,000 ตัว

เลนส์ 75 MM. F0.85 SUMMAR

ในช่วงสงครามดูเหมือนว่ามีเลนส์ถูกออกแบบใหม่เพียงตัวเดียว เพื่อการใช้งานทั่วไป คือ SUMMAREX ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ 7 ชิ้นเลนส์ 5 กลุ่ม แตกต่างไปจาก XENON ในระหว่างสงครามมีการผลิต 75 มม. f0.85 SUMMAR มีเลนส์ชิ้นหลังสุดสีแดงเข้ม ซึ่งทำหน้าที่เหมือนฟิลเตอร์ อย่างไรก็ตาม เลนส์พิเศษนี้ไม่มีบัญชีในเลนส์ทั่วไปของ LEICA ตามบันทึกของโรงงาน

SUMMAREX ผลิตในปี 1960 ตอนแรกสีดำหลังสงครามเปลี่ยนเป็นสีโครม มุมรับภาพ 28 องศา รูรับแสงแคบสุด f16 โฟกัสใกล้สุด 1 เมตร ใช้รหัส SOOCX ผลิตประมาณ 4,000 ตัว