เรื่อง+ภาพ : Sompoch Tangthai
ในบทความตอนที่แล้ว เราทำความเข้าใจในเรื่องของระบบโฟกัสที่มีในกล้อง และเราได้ตั้งค่ากล้องเอาไว้ให้พร้อมสำหรับการถ่ายภาพนกโดยเฉพาะนกประเภทแอคชั่น ระบบโฟกัสของกล้องถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เราได้ภาพในจังหวะท่าทางของนกตามที่เราต้องการได้ และในครั้งนี้ก็จะเป็นเรื่องของการเลือกใช้ระบบโฟกัส ควบคู่ไปกับการควบคุมกล้องในส่วนอื่นๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เราเจอกับกล้อง Sony a1 และ Sony a9ii ที่ถือว่าเป็นกล้องที่มีความไวในเรื่องของระบบโฟกัสเหมาะสำหรับการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นในเวลานี้
(เรื่องของการ Setting กล้องสำหรับถ่ายภาพนกสามารถอ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.camerartmagazine.com/product-review/digital-camera/auto-focus-setting-for-action-bird-1.html
เมื่อเราตั้งค่ากล้องเตรียมไว้ให้พร้อมสำหรับการถ่ายภาพนกเรียบร้อยแล้ว จะเห็นว่ามีค่าที่เกี่ยวกับระบบโฟกัสบางอย่างที่เรายังต้องเลือกใช้ในขณะที่ถ่ายภาพ เช่น AF Area ที่เราต้องเลือกว่าจะใช้ตัวไหน, AF Tracking sensitive ที่เราต้องเลือกระดับของการ sensitive ซึ่งเราได้ตั้งเอาไว้ที่ปุ่ม Custom Key เรียบร้อยแล้วเพื่อการปรับเปลี่ยนที่รวดเร็ว เรามาดูกันว่ามีสถานการณ์แบบใดบ้างที่เราต้องเจอสำหรับการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่น และเราจะเลือกใช้อะไรจากการปรับตั้งค่ากล้องที่เราตั้งไว้ นอกเหนือไปจากการใช้ระบบโฟกัส AF-C
นกบินฉากหลังท้องฟ้าโล่ง
เป็นสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่น เพราะระบบโฟกัสจะทำงานได้ง่ายที่สุด มีโอกาสสูงมากในการจับโฟกัสนกบินในจังหวะที่หลากหลาย ภาพแบบนี้ เลือกใช้ AF Area แบบ Zone หรือ Wide Area กล้องสามารถจับโฟกัสได้ดี ส่วน AF Tracking sensitive เลือกใช้งานที่ระดับ 3 (Standard) หรือ ระดับ 2 ก็สามารถจับโฟกัสนกที่กำลังบินโฉบบนท้อฟ้าได้สบายๆ
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
นกบินมากกว่าหนึ่งตัวฉากหลังโล่ง
นกที่บินมากกว่าหนึ่งตัว หลายๆตัว หรือบินกันเป็นฝูง ภาพแบบนี้มักจะเกิดปัญหาเรื่องการโฟกัสจับที่นกตัวไหน ถ้าเราไม่เลือก AF Tracking sensitive ให้ดีอาจจะถ่ายภาพได้ยาก หรืออาจจะจับโฟกัสที่นกตัวที่ต้องการไม่ได้ดั่งใจ ดังนั้นแล้วการเลือก AF Tracking sensitive ระดับ 2 หรือ 1(Locked on) จากนั้นเลือกนกตัวที่น่าสนใจ หรืออาจจะเป็นตัวหน้า เมื่อเราโฟกัสนกตัวนั้นแล้ว กล้องจะล๊อกโฟกัสที่นกตัวนี้ไปตลอด ส่วน AF Area เราสามารถเลือกได้ทั้ง Zone และ Expand Flexible Spot
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
นกบินหน้าตรงเข้าหากล้อง
ภาพลักษณะนี้นั้นระบบโฟกัสที่ไม่เร็วพอมักจะโฟกัสผิดพลาดได้ ตามอัตราความเร็ว และขนาดของนกแต่ล่ะชนิด การเลือกใช้ AF Area แบบ Zone หรือ Expand Flexible Spot (L, M) จะมีโอกาสจับโฟกัสได้แม่นยำกว่า ส่วน AF Tracking sensitive เลือกใช้ระดับ 2 หรือระดับ 1 (Locked on)
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 600 mm. F4 GM OSS
นกบินเรี่ยน้ำฉากหลังเป็นน้ำ
นกบินเรี่ยน้ำ หรือมีฉากหลังเป็นน้ำ ระบบโฟกัสทำงานง่าย แต่มักจะมีเรื่องของความเร็วนกที่มักจะเป็นนกที่มีความเร็วพอสมควร การเลือก AF Area แบบ Zone หรือ Tracking Zone มักจะทำงานได้ดีกับภาพลักษณะนี้ ส่วน AF Tracking sensitive เลือกใช้ระดับ 2 ก็เพียงพอต่อการจับภาพนก ทั้งนี้ต้องอาศัยการแพนกล้องที่ขนานไปกับตัวนกในกรณีที่เรากำลังถ่ายภาพนกที่มีความไว และมีขนาดเล็ก เช่น นกกระเต็นน้อยธรรมดา หรือนกนางแอ่นบ้าน ที่มักจะชอบบินเรี่ยผิวน้ำผ่านไปมา
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY alpha 1 Lens FE 600 mm. F4 GM OSS
นกบินฉากหลังต้นไม้หรือพุ่มไม้ระยะใกล้ตัวนก
ฉากหลังที่มีระยะใกล้มักจะส่งผลรบกวนต่อการโฟกัสนกบินเป็นอย่างมาก เช่นพวกนกที่หากินตามทุ่งนา จำพวกเหยี่ยวทุ่ง ที่กล้องมักจะโฟกัสไปที่ฉากหลังอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นการเลือกระบบโฟกัสต้องระมัดระวังมากขึ้น เรียกว่าพิถีพิถันกว่าปกติ AF Area แนะนำให้เลือกใช้ Expand Flexible Spot หรือ Flexible Spot (L) หรือ ถ้ามีพื้นที่ในการจับภาพตั้งแต่เห็นนกบินมาจากระยะไกลๆ อาจเลือกใช้ Tracking Zone โดยเลี้ยงโฟกัสนกให้อยู่ในกรอบโซนโฟกัสมาตลอดจนได้ระยะที่จะถ่ายภาพ สำหรับ AF Tracking sensitive เลือกใช้ที่ระดับ 2 หรือ ระดับ 1 (Locked on) ในกรณีที่มีระยะมากพอในการเลี้ยงโฟกัสนกจากระยะไกล
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 600 mm. F4 GM OSS
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 600 mm. F4 GM OSS
นกบินฉากหลังต้นไม้มีระยะห่างจากตัวนก
ถ้าฉากหลังมีระยะห่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วระบบโฟกัสจะทำงานง่าย แต่ให้ระวังที่การแพนกล้องของเราเอง เพราะระยะห่างของฉากหลังมากนั้นจะเป็นภาพนกขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนกพวกนี้มักจะมีความเร็วเป็นจุดเด่นอยู่แล้ว ดังนั้นการกวาดกล้องแพนตามนก เป็นเรื่องสำคัญ AF Area สามารถเลือกใช้แบบ Zone หรือ ถ้าแพนนกได้แม่นๆ ก็อาจเลือกใช้แบบ Flexible Spot ก็สามารถทำได้เช่นกัน ส่วน AF Tracking sensitive เลือกใช้ที่ระดับ 2 ถือว่ากำลังดี จำไว้ว่าถ้านกมีขนาดเล็กต้องแพนกล้องให้ไวขึ้นเท่านั้น
ถ่ายด้วย SONY alpha 1 Lens FE 600 mm. F4 GM OSS
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
นกที่กำลังเล่นน้ำ, จับเหยื่อในน้ำ
ถือเป็นซีนที่ถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นได้สนุก มันส์ และท้าทายช่างภาพเป็นอันมาก ภาพที่ได้มีความโดดเด่นน่าตื่นเต้น และประทับใจทุกครั้ง ภาพลักษณะนี้ จำเป็นต้องใช้ทุกสกิลที่มีในการถ่าย ตั้งแต่การแพนนกให้ทัน การเข้าใจในพฤติกรรมนกแต่ล่ะตัวว่าเป็นอย่างไร เช่น นกจาบคามักจะบินร่อนไปมาก่อนแล้วโฉบลงเล่นน้ำแบบวิถีโค้งตัว U หรือนกกระเต็นที่ลงเล่นน้ำ หรือลงจับปลาแบบทิ้งดิ่ง หรือเฉียงลง เหยี่ยวจะมีขนาดที่ใหญ่กว่า แต่ก็จะมีจังหวะลงน้ำอีกแบบหนึ่ง แตกต่างกันออกไป สำหรับ AF Area ที่แนะนำสำหรับผู้หัดถ่ายเบื้องต้นกับซีนแบบนี้คือ แบบ Zone Area หรือ Tracking Zone Area ส่วน AF Tracking sensitive เลือกใช้ที่ระดับ 2 หรือ ระดับ 1(Locked on) แล้วอย่าลืมพยายามแพนนกให้อยู่ในเฟรมภาพหรือกรอบโซนโฟกัสตลอดเวลา
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ในการเลือกใช้ AF Area หรือ AF Tracking sensitive กับภาพนกแอคชั่นในลักษณะต่างๆ นั้นเป็นเพียงทางเลือกจากประสบการณ์ที่ผมได้ลองใช้ในการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นของผม ซึ่งไม่ได้เป็นรูปแบบตายตัวแต่อย่างใด เพราะนกแต่ล่ะชนิด มีพฤติกรรมที่ต่างกันออกไป สถานที่ที่เราถ่ายภาพนก มีลักษณะ สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน สภาพแสง ความรกของฉากหลัง ดังนั้นทางเลือกที่แนะนำอาจจะใช้เป็นไกด์คร่าวๆ ในการถ่ายภาพนกของคุณได้ หลักสำคัญของการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นก็คือการจับภาพนกให้อยู่ในเฟรมภาพได้ก่อนที่คุณจะกดชัตเตอร์นั่นเอง การแพนกล้องเป็นวิธีการติดตามนกที่กำลังบินได้ดีที่สุด แต่ถ้าเรายกกล้องขึ้นมาแล้วยังหานกไม่เจอ กล้องที่มีระบบโฟกัสไวแค่ไหนเราก็ไม่ได้ภาพอยู่ดีครับ ดังนั้นก่อนไปถ่ายภาพนก ควรซ้อมการยกกล้องหาเป้าหมาย การแพน การปรับค่าต่างๆบนกล้องในขณะที่กำลังถ่ายภาพ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ต้องฝึกให้เกิดความคุ้นชินเสียก่อน ก็จะเพิ่มโอกาสในการถ่ายภาพชอตสำคัญๆ ของนกแต่ล่ะตัวได้ไม่ยากครับ…
ถ่ายด้วย SONY Alpha 9ii Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS