เรื่อง+ภาพ : Sompoch Tangthai
ในการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นนั้น กล้องที่ดูเหมือนจะเป็นหัวใจหลักที่ช่วยให้เราได้ภาพ ในช่วงเวลาของการทำงานที่ต้องอาศัยความเร็ว Sony a9II นับว่าเป็นกล้องลำดับต้นๆ ที่ตอบสนองในงานถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นได้เป็นอย่างดี และเมื่อจะมองหาเลนส์มาประคบคู่เพื่อใช้งานร่วมกันนั้น ก็จะมีเลนส์ซูมอยู่สองตัวที่มักจะถูกถามถึงอยู่เสมอนั่นก็คือ SONY FE 200-600 MM. F/5.6-6.3 G OSS และ SONY FE 100-400 MM. F4.5-5.6 GM OSS
SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS และ SONY FE 100-400 MM. F4.5-5.6 GM OSS เป็นเลนส์ซูมช่วงเทเลโฟโต้ที่มีความน่าสนใจเมื่อนำมาใช้ในการถ่ายภาพนก ด้วยระยะของช่วงทางยาวโฟกัส ขนาดและน้ำหนักของเลนส์ รวมถึงคุณภาพของภาพที่ได้ ในครั้งนี้เราจึงจะมาพูดกันถึงความน่าสนใจของเลนส์สองตัวนี้เมื่อนำมาใช้ในการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นกันว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง และสำหรับสเปกหรือคุณสมบัติอื่นๆ ของเลนส์ทั้งสองตัวนี้เราสามารถดูได้จากเว็บไซด์ต่างๆ มากมาย ดังนั้นเรามาว่ากันที่การถ่ายนกของเรากันดีกว่า
ช่วงทางยาวโฟกัสของเลนส์
SONY FE 200-600 mm.G เป็นเลนส์ที่มีช่วงทางยาวโฟกัสเริ่มต้นที่ 200 mm.และทางยาวโฟกัสเมื่อซูมไกลสุดที่ 600 mm. ซึ่งแน่นอน ช่วงทางยาวโฟกัสที่ 600 mm. นั้นมีความเหมาะสมในการถ่ายภาพนก และช่วยให้เราได้ภาพนกที่มีขนาดใหญ่เต็มเฟรมภาพ โดยที่ไม่ต้องเข้าใกล้นกมากนัก เหมาะสำหรับสถานการณ์ที่มีระยะห่างระหว่างนกกับช่างภาพพอสมควร
ส่วน SONY FE 100-400 MM.GM เป็นเลนส์ที่มีช่วงทางยาวโฟกัสเริ่มต้นที่ 100 mm. และทางยาวโฟกัสเมื่อซูมไกลสุดที่ 400 mm. แม้ว่าทางยาวโฟกัสช่วง 400 mm. จะน้อยกว่า ช่วง 600 mm. แต่ก็นับว่าทางยาวโฟกัสช่วง 400 mm. นั้นถือเป็นระยะทางยาวโฟกัสที่สามารถใช้งานในการถ่ายภาพนกได้เช่นกัน ซึ่งเหมาะกับหมายที่นกมีระยะไม่ห่างกับช่างภาพมากนัก หรือการเข้าใกล้นกด้วยวิธีต่างๆ เช่นการนั่งอยู่ในบลายด์
โครงสร้างและน้ำหนักของเลนส์
โครงสร้างและน้ำหนักของเลนส์ส่งผลต่อการถ่ายภาพนกเป็นอย่างมาก การพกพา การเลือกกระเป๋าที่ขนย้ายอุปกรณ์ การเคลื่อนไหวกล้องไม่ว่าจะเป็นการแพนด้วยมือ หรือการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมอย่างขาตั้งกล้องและหัวกิมบอล
SONY FE 200-600 mm. G โครงสร้างกระบอกเลนส์ตัวนี้เป็น Magnesium alloy มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง น้ำหนักของเลนส์อยู่ที่ประมาณ 2.1 กก. ซึ่งสำหรับระยะซูมสุดที่ทางยาวโฟกัส 600 มม. นั้นถือว่าเป็นเลนส์ที่มีน้ำหนักเบามาก มีระบบ Seal กันละอองน้ำและฝุ่นหลายจุด และมี Collarสำหรับยึดกับขาตั้งกล้อง ขนาดของเลนส์อยู่ที่ 4.5×12.6 นิ้ว และเลนส์จะไม่ยืดออกในขณะซูมเลนส์ มี F-Stop อยู่ที่ F/5.6-6.3
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 100-400 MM. F4.5-5.6 GM OSS
ส่วน SONY FE 100-400 MM. GM โครงสร้างกระบอกเลนส์ตัวนี้เป็น Magnesium alloy มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงเช่นกัน มีระบบ Seal กันละอองน้ำและฝุ่น มี Collar มาให้ด้วยเช่นกัน ตัวเลนส์มีน้ำหนักของเลนส์อยู่ที่ 1.4 กก. ขนาดของเลนส์อยู่ที่ 3.7 x 8.07 นิ้ว และกระบอกเลนส์จะยืดออกเมื่อซูมที่ 400 mm. มี F-Stop อยู่ที่ F/4.5-5.6
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 100-400 MM. F4.5-5.6 GM OSS
ด้วยโครงสร้างและน้ำหนักของเลนส์ทั้งสองตัวนี้ เรื่องของน้ำหนักนั้น เลนส์ FE 100-400 GM เบากว่า และมีขนาดของกระบอกเลนส์ที่สั้นกว่า ในการพกพาสามารถใส่ลงกระเป๋ากล้องแบบสะพายข้างได้ ส่วนเลนส์ FE 200-600 อาจจะต้องเลือกใช้กระเป๋ากล้องแบบเป้ สะพายหลัง อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจเท่าที่ได้ลองใช้มาก็คือ แหวนซูมที่หมุนเพียงนิดเดียวก็สามารถซูมเลนส์จาก 200 mm. ไปที่ 600 mm. ได้แล้ว
ส่วนน้ำหนักของเลนส์ในการใช้การแพนกล้องถ้าอยู่บนขาตั้งเลนส์ทั้งสองตัวไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่ถ้าเป็นการแพนด้วยด้วยมือเปล่านั้น อาจจะมีผลบ้าง สำหรับในการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่น ส่วนใหญ่แล้วจะมีการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง F-Stop ของเลนส์จะส่งผลต่อค่า ISO ที่สูงขึ้น เมื่อเราต้องการเลือกใช้ค่าความเร็วชัตเตอร์สูง
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 100-400 MM. F4.5-5.6 GM OSS
ระบบโฟกัสและความคมชัด
สำหรับการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่น ความไวในการโฟกัสและความคมชัดของภาพเป็นสิ่งสำคัญ เลนส์ทั้งสองตัวนี้มีระบบ DDSSM (Direct Drive SSM) ของ Sony ที่มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสำหรับการขับเคลื่อนกลไกของเลนส์ ทำให้โฟกัสได้อย่างรวดเร็ว เงียบ และแม่นยำซึ่งในเลนส์ SONY FE 200-600 mm. G ถูกวางไวในกลุ่มของเลนส์ G มีระยะโฟกัสใกล้สุด 2.4 เมตร (7.88 ฟุต) ส่วนเลนส์ SONY FE 100-400 MM. GM ถูกวางไว้ในกลุ่มของเลนส์ GM หรือ G-Master และมีระยะโฟกัสใกล้สุด 0.98 เมตร (3.22 ฟุต)
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 100-400 MM. F4.5-5.6 GM OSS
ในเรื่องของความไวในการโฟกัสนั้นไม่เห็นถึงความแตกต่างมากนัก แต่ในเรื่องของความคมชัด โดยเฉพาะรายละเอียดดูแล้ว FE 100-400 GM จะได้เปรียบกว่า FE200-600 G พอสมควรเลยทีเดียว ก็เป็นไปตามระดับของเลนส์ G-Master และเลนส์ G ซึ่งความต่างตรงนี้จะไปเห็นผลในเวลาที่ต้องการ Crop ภาพ และพิมพ์ขยายภาพใหญ่เป็นเมตร ส่วนระดับการใช้งานปกติแล้วเลนส์ระดับ G ก็มีความคมชัดที่ดีพออยู่แล้วครับ
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 100-400 MM. F4.5-5.6 GM OSS
ข้อสรุป
ในเรื่องของการใช้งานนั้นผมมีข้อคิดสำหรับคนที่จะเลือกใช้เลนส์ทั้งสองตัวนี้ คือ เลนส์ SONY FE 200-600 MM. F/5.6-6.3 G OSS นั้นมีข้อได้เปรียบในเรื่องของช่วงทางยาวโฟกัสที่ซูมได้ถึง 600 mm.ทำให้สามารถถ่ายนกได้จากระยะห่าง ได้ภาพนกที่มีขนาดใหญ่ กระบอกซูมไม่ยืดออกเวลาที่ซูมเลนส์ แหวนซูมที่มีวงรอบหมุนที่สั้นทำให้การซูมภาพสะดวกและรวดเร็ว จึงนับเป็นเลนส์ที่เหมาะกับการนำมาถ่ายภาพนกเป็นอย่างมาก
ส่วนเลนส์ SONY FE 100-400 MM. F4.5-5.6 GM OSS มีข้อได้เปรียบในเรื่องของความคมชัดของเลนส์ระดับ G-Master ซึ่งเก็บรายละเอียดของภาพที่ดี และมีขนาดเลนส์ที่เล็กและเบา พกพาได้สะดวกสามารถใส่ลงในกระเป๋ากล้องแบบสะพายข้างได้เมื่อหมุนซูมเก็บมาที่ 100 mm. ช่วงทางยาวโฟกัสเลนส์มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานที่หลากหลาย
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 100-400 MM. F4.5-5.6 GM OSS
ในเรื่องของความไวในการโฟกัสนั้นไม่เห็นถึงความแตกต่างมากนัก แต่ในเรื่องของความคมชัด โดยเฉพาะรายละเอียดดูแล้ว FE 100-400 GM จะได้เปรียบกว่า FE200-600 G พอสมควรเลยทีเดียว ก็เป็นไปตามระดับของเลนส์ G-Master และเลนส์ G ซึ่งความต่างตรงนี้จะไปเห็นผลในเวลาที่ต้องการ Crop ภาพ และพิมพ์ขยายภาพใหญ่เป็นเมตร ส่วนระดับการใช้งานปกติแล้วเลนส์ระดับ G ก็มีความคมชัดที่ดีพออยู่แล้วครับ
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วยเลนส์ SONY FE 100-400 MM. F4.5-5.6 GM OSS