เรื่องและภาพ…
นพดล อาชาสันติสุข
สมโภช แตงไทย
ในกลางปี 2020 Canon ได้แนะนำกล้อง Canon EOS R6 ในรูปแบบของกล้อง Mirror less เข้าสู่ตลาด นับเป็นช่วงเวลาที่ไม่ค่อยดีนักเนื่องจากการระบาดของ Covid 19 ที่มีผลต่อตลาดของกล้องถ่ายภาพ…จากวันนั้นจนถึงเมื่อปลายปี 2022…เป็นเวลากว่า 2 ปี Canon ก็ได้เปิดตัวกล้อง Canon EOS R6 Mark II เข้ามาแทนที่ Canon EOS R6…นักถ่ายภาพหลายท่านอาจจะมีคำถามว่า…EOS R6 Mark II เป็นกล้อง Minor change ของ EOS R6 หรือไม่…
ตอบกันชัดๆ…ไม่ใช่เลยครับ… EOS R6 Mark II แม้มองเผินๆอาจจะคล้าย EOS R6…แต่อยากจะบอกว่า EOS R6 Mark II นับเป็นกล้องที่เปลี่ยนโฉมหน้าของกล้องกล้องในซีรีส์ 6 เลยทีเดียว… EOS R6 Mark II นับเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่แคนนอนได้บรรจุสมรรถนะการทำงานไว้ให้ใช้งานครบเครื่องสำหรับนักถ่ายภาพมืออาชีพ และนักถ่ายภาพทั่วไป ทั้งการถ่ายภาพนิ่งและการถ่ายภาพวิดีโอ…จนได้ชื่อว่าเป็น Hybrid Camera ที่พร้อมสำหรับการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ…ที่ใครๆ ก็ใช้งานได้อย่างง่ายดาย…
คุณสมบัติเด่น
เป็นเวลากว่า 2 ปี ที่แคนนอนได้นำเอานวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่เคยใช้อยู่ใน EOS R3 นำมาบรรจุให้ใช้งานใน EOS R6 Mark II เพื่อให้เป็นกล้องที่สมบูรณ์แบบสำหรับนักถ่ายภาพทั่วไป จนถึงนักถ่ายภาพระดับมืออาชีพ รวมทั้ง Content creator สำหรับการใช้งานใน Social media ซึ่งทำให้กล้อง EOS R6 Mark II ต่างไปจาก EOS R6 อย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว
ตัวกล้องผลิตด้วยวัสดุแมกนีเซียมอัลลอยด์ พร้อมระบบป้องกันละอองน้ำและฝุ่น จอแสดงภาพแบบพับข้างปรับองศาได้ ขนาด 3 นิ้ว ความละเอียด 1,620,000 จุด ช่องมองภาพ แบบ EVF แสดงภาพได้ 100% ความละเอียด 3,690,000 จุด ระบบ AF ประกอบด้วยจุดโฟกัส 6072 จุด ในภาพนิ่ง และ 4897 จุด ในภาพเคลื่อนไหว เป็นแบบพื้นที่ 1053 โซน
• เซนเซอร์ CMOS ฟูลเฟรม ความละเอียด 24.2 ล้านพิกเซล
• ชิปประมวลผลภาพ DIGIC X รุ่นใหม่ทรงพลัง ประมวลผลได้รวดเร็ว ถ่ายภาพได้ที่ ISO สูงถึง 102400 มีสัญญาณรบกวน (Noise) ต่ำ
• ติดตั้งระบบลดการสั่นแบบ 5 แกนในตัวกล้อง สามารถลดการสั่นในการถ่ายภาพได้สูงสุดถึง 8 สต็อป
• ระบบโฟกัสอัตโนมัติ Dual pixels CMOS AF II ใหม่ ด้วยเทคโนโลยี EOS iTR AF X สามารถจดจำวัตถุเชิงลึกได้ทั้งการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่ม ตาสัตว์ที่นอกเหนือจากสุนัข แมลง และนกแล้ว ยังเพิ่มตาม้า และในโหมดยานพาหนะยังเพิ่ม รถไฟและเครื่องบินอีกด้วย…ระบบตรวจจับดวงตาคน สามารถเลือกล็อคให้โฟกัสตาซ้ายหรือตาขวาก็ได้
• ถ่ายภาพต่อเนื่องได้ความเร็วสูงสุด 40 ภาพต่อวินาที่เมื่อใช้ระบบชัตเตอร์อิเลคโทรนิค และถ่ายต่อเนื่องได้ 12 ภาพต่อวินาที เมื่อระบบชัตเตอร์กลไก (Mechanics shutter)
• HDR mode สามารถถ่ายภาพๆได้ทั้งวัตถุที่อยู่นิ่งและวัตถุที่เคลื่อนไหว
• ระบบ RAW burst mode ไม่พลาดจังหวะสำคัญ ที่กล้องบันทึกภาพก่อนการกดชัตเตอร์ประมาณ 0.5 วินาที (ด้วยความเร็ว 30 ภาพต่อวินาที)
• ระบบ Hybrid Auto mode เมื่อ ถ่ายภาพนิ่ง กล้องจะการบันทึกภาพวิดีโอไว้ประมาณ 3 หรือ 5 วินาที ไว้พร้อมกัน และจะทำการรวมภาพวิดีโอไว้เป็นคลิปวิดีโอโดยอัตโนมัติ
• Canon EOS R6 Mark II ได้ติดตั้ง ระบบ Digital Tele-Converter ขนาด 2X และ 4X ให้พร้อมใช้งานโดยไม่สูญเสียความละเอียดของภาพ
• ระบบวิดีโอ 4K 59.94p Oversampling จาก 6K สามารถบันทึก 6K/60P RAW (External) ผ่าน HDMI Output
• Full HD Super Slow Motion 179.82 p
• Canon Log3 Wide Dynamic Range
• Video สามารถบันทึกต่อเนื่องได้ตลอด ไม่ตัดที่ 30 นาที
• Multi-function Hot Shoe ใหม่เช่นเดียวกับ EOS R3 รองรับ Speedlite EL-5 , DM-E1D และ XLR adapter
• ช่องใส่การ์ด SD card 2 ช่อง
• รองรับการเชื่อมต่อ สำหรับการผลิตวิดีโอ และไลฟ์สตรีม ที่ออกได้ทั้งภาพและเสียง (UVC/UAC)
Canon EOS R6 Mark II, 1/500 sec. f/7.1, ISO 6400
Menu ปรับตั้งกล้อง
สำหรับนักถ่ายภาพที่ชำนาญการถ่ายภาพ สิ่งแรกเมื่อได้รับกล้องมา นั่นคือการ ศึกษาเมนูสำหรับการปรับตั้งการทำงานต่างๆ ของกล้อง นั่นคือ สาเหตุใหญ่ๆ ที่ทำให้นักถ่ายภาพหลายคนที่ไม่ได้พยายามเข้าไปศึกษา เมนู การปรับตั้งกล้อง ไม่สามารถนำสมรรถนะดีเด่นต่างๆ ของกล้องออกมาใช้งานได้เต็มสมรรถนะ
การใช้กล้องดิจิตอลให้เต็มสมรรถนะนั้น คงต้องทำความเข้าใจกันสักนิดว่า ปุ่มบังคับต่างๆ บนตัวกล้องนั้นมีจำนวนจำกัดสำหรับการปรับตั้งการทำงานของกล้องที่มีอยู่มากมายในตัวกล้อง เราจะพบได้ว่าหลายคนสามารถเลือกใช้กล้องได้เต็มสมรรถนะที่กล้องให้มา แต่ก็มีหลายท่านอีกเช่นกันที่ไม่รู้ว่ากล้องที่ใช้อยู่มีฟังก์ชั่นอื่นๆ อีกมากที่ไม่ได้เคยนำมาใช้งานเลย
ใน Canon EOS R6 Mark II ได้แยกเมนูการปรับตั้งการทำงานของกล้องระหว่าง การถ่ายภาพนิ่ง และการถ่ายภาพวิดีโอแยกจากกัน ด้วยการปรับเลือก การถ่ายภาพนิ่ง หรือวิดีโอที่อยู่ด้านบนซ้ายมือของกล้อง ถ้าเลือก การถ่ายภาพนิ่ง เมื่อกดเข้าเมนู ก็จะเป็นเมนูภาพนิ่ง แต่เลือกการถ่ายภาพเป็นวิดีโอ ถ้ากดเข้าเมนูก็จะเป็นเมนูวิดีโอ แยกกันไปเลย
ในเมนู ถ่ายภาพนิ่ง และ ถ่ายภาพวิดีโอ จะประกอบไปด้วยเมนูใหญ่ๆ อยู่ด้วยกัน 7 หมวด ด้วยกัน สำหรับในที่นี้ขอยกตัวอย่างเมนูในการถ่ายภาพนิ่งไว้เป็นแนวทางเพื่อไม่ให้ยืดยาวจนเกินไป ซึ่งในเมนูของกลุ่ม ถ่ายภาพวิดีโอ ก็จะมีความคล้ายคลึงกับการถ่ายภาพนิ่ง เพียงแต่เป็นปรับตั้งการทำงานเพื่องานวิดีโอเป็นหลัก….
1. Shooting Menu เป็นเมนูสำหรับปรับตั้งการถ่ายภาพของกล้อง ประกอบด้วยเมนูย่อยอีก 10 หน้า สำหรับการปรับตั้ง (แต่ละเมนูย่อยยังมีแยกย่อยสำหรับการปรับเลือก) อย่างเช่นการตั้งค่า Image quality. Digital tele-converter, ISO, HDR mode, WB, Multiple exposure, RAW Burst mode, Shutter mode เพื่อเลือกระบบชัตเตอร์ว่าเป็น Electronic shutter หรือ Mechanic shutter เป็นต้น
2. AF Menu เป็นเมนูสำหรับการปรับตั้งระบบ Autofocus ต่างๆ ซึ่งประกอบได้ด้วยเมนูย่อยอีก 6 หน้า (แต่ละเมนูย่อยยังประกอบด้วยเมนูย่อยให้เลือกอีก) สำหรับการปรับตั้งได้ตั้งแต่ การโฟกัสที่ละภาพ หรือการโฟกัสต่อเนื่อง (One shot, AI Focus, Servo) การเลือกพื้นที่หรือจุดโฟกัส ซึ่งใน Canon EOS R6 Mark II ได้มีการเพิ่มพื้นที่โฟกัสแบบ Whole area AF (มีมาตั้งแต่ EOS R3) เพิ่มขึ้นมาอีกแบบหนึ่งให้เลือกใช้งาน, การเลือก Subject to detect ว่าเป็น People, Animal, Vehicle หรือ Auto…การเลือกโฟกัสตาซ้ายตาขวา หรือ การเลือกรูปแบบของการโฟกัสติดตามวัตถุ…สามารถเลือกปรับตั้งได้จากเมนูชุดนี้
3. Display Menu เป็นเมนูเกี่ยวกับภาพที่ถ่ายแล้ว ประกอบด้วยเมนูย่อยอีก 7 หน้า การตั้งเกี่ยวกับการแสดงภาพ รวมไปถึง การปรับภาพจาก RAW (RAW processing) การ Resize การ Crop ภาพ สามารถทำได้ในตัวกล้อง จากเมนูกลุ่มนี้
4. Connecting Menu เป็นเมนูเกี่ยวกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ กับกล้อง ประกอบด้วยเมนูย่อย 3 หน้า สามารถตั้งการเชื่อมต่อกับ Smartphone โอนถ่ายภาพถ่าย หรือ การโอนถ่ายภาพถ่ายเชื่อมต่อกับ FPT server เป็นต้น
5. Setting Menu เป็นกลุ่มเมนูสำหรับการปรับตั้งค่าของกล้อง ประกอบด้วยเมนูย่อยอีก 6 หน้า สำหรับการปรับตั้งภาษาที่ใช้งาน, เสียง, การ Format card หรือ Copyright information เป็นต้น
6. Camera Control Menu เป็นกลุ่มเมนูสำหรับการปรับตั้งค่าการทำงานของปุ่มและแหวนปรับตั้งบนตัวกล้องประกอบไปกลุ่มเมนูย่อยอีก 5 หน้า ที่น่าใช้งานมากๆ สำหรับเมนูในกลุ่มนี้ก็คือ นักถ่ายภาพสามารถ Customize การทำงานของปุ่มบังคับต่างๆ บนตัวกล้องได้เอง ตามความถนัด หรือการใช้งานบ่อย ของการถ่ายภาพ เพิ่มความสะดวก และความถนัดตามใจนักถ่ายภาพได้เลยทีเดียว สำหรับเมนูนี้ อยากจะบอกว่า ขอแนะนำให้นักถ่ายภาพได้เข้ามาใช้งานให้เต็มที่เลย เนื่องจากนักถ่ายภาพสามารถเลือกปุ่มต่างและวงแหวนการปรับตั้งให้ใช้งานได้ตามใจเลยครับว่าจะให้ปุ่มไหนทำหน้าที่กดปรับ ISO หรือปุ่มไหนกดเพื่อเปลี่ยนระบบโฟกัส หรือ พื้นที่โฟกัสได้ตามใจชอบเลยทีเดียว ซึ่งนักถ่ายภาพระดับสูงถึงมืออาชีพต้องการใช้งานได้อย่างสะดวกสบายเลยทีเดียว
7. เมนูรูป Star เป็นการเลือก เมนูหรือ ฟังก์ชั่นกล้องที่ได้ใช้งานบ่อยๆ หรือคิดว่าเมนูนี้หาอยาก แล้วอยากจะนำมาเซฟเก็บไว้เพื่อให้ หาได้อย่างรวดเร็ว และง่ายกับการนำมาใช้งาน ซึ่งสามารเปิดหน้า เมนู เพิ่มได้สูงสุด ถึง 5 หน้า
เมนูสำหรับการถ่ายภาพนิ่ง
เมนูสำหรับการถ่ายวิดีโอ
ทดสอบระบบโฟกัส
ระบบโฟกัสของ EOS R6 Mark II ถ้าเทียบชั้นกับ EOS R6 ต้องบอกว่า EOS R6 Mark II นำหน้าห่างชั้นกันเลยทีเดียวทั้งในเรื่องการปรับตั้งการใช้งานที่มีมาให้มากกว่า EOS R6 โฟกัสไวกว่า แม่นยำกว่า เกาะติดตามวัตถุได้เหนียวแน่นกว่า….
แต่การจะใช้งานให้ได้เต็มสมรรถนะ ก็ที่ได้เกริ่นไว้แต่แรกเลยก็คือ นักถ่ายภาพต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตั้งระบบของกล้องให้ชัดเจนแล้วปรับตั้งการใช้งานให้เหมาะกับวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ
สิ่งแรกเลยก็คือการเลือกระบบโฟกัส ว่าเป็น ONE SHOT, AI FOCUS หรือ SERVO ซึ่งระบบโฟกัสทั้ง 3 รูปแบบทำงานแตกต่างกัน ONE SHOT กล้องจะทำการโฟกัสทุกครั้งที่มีการแตะชัตเตอร์ กดชัตเตอร์ค้างคือการ ล็อคจุดโฟกัส แต่ถ้าเป็น AI FOCUS การแตะชัตเตอร์ค้างจะทำงานแบบเดียวกับ ONE SHOT แต่ถ้าวัตถุมีการเคลื่อนที่เคลื่อนไหว ระบบ AI จะสั่งให้ระบบโฟกัสติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าตั้งเป็น SERVO เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนที่เคลื่อนไหว ที่โฟกัสจะเกาะติดตามวัตถุตลอดเวลาที่กดชัตเตอร์ค้างอยู่ ซึ่งกล้องรุ่นนี้สามารถทำงานได้รวดเร็วแม่นยำดี
สิ่งที่ควรทำความเข้าใจเพิ่มกับกล้องรุ่นนี้ ซึ่งจะทำให้การถ่ายภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ง่ายมากขึ้นก็คือ การปรับตั้งพื้นที่โฟกัส ซึ่งแต่เดิมใน EOS R6 มีให้เลือกเพียงแบบเป็นจุด และแบบพื้นที่ อีก 3 แบบที่ปรับขนาดพื้นที่โฟกัสไม่ได้…แต่ใน Canon EOS R6 Mark II ได้เพิ่มการเลือกพื้นที่เพิ่มให้อีกแบบคือ แบบ Whole area AF ให้เลือกเพิ่มอีกแบบหนึ่ง และที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มให้มาก็คือ Flexible Zone AF ในการเลือก พื้นที่โฟกัส ในแบบที่ 1, 2 และ 3 ในกล้อง EOS R6 Mark II สามารถปรับเพิ่มลดพื้นที่การโฟกัสได้แล้ว ที่เพิ่มความสะดวกสำหรับการโฟกัสไม่ว่าวัตถุที่เคลื่อนที่จะอยู่ซ้าย ขวา บนล่าง กล้องสามารถปรับใช้งานถ่ายภาพได้ง่ายขึ้นทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่มีการเคลื่อนที่ เคลื่อนไหว อย่างรวดเร็ว อย่างเช่นการถ่ายภาพนก การแข่งขันกีฬา หรือ การถ่ายภาพสัตว์ Wildlife
ที่น่าประทับใจและถือว่าเป็นความก้าวหน้ามากขึ้นแตกต่างไปจาก EOS R6 รุ่นก่อนหน้านี้ก็คือ ในการเลือกจุดโฟกัส หรือพื้นที่โฟกัสในทุกรูปแบบนั้น จุดโฟกัส และพื้นที่โฟกัสต่าง สามารถ Detect โฟกัสจับวัตถุได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งแต่เดิมใน EOS R6 ทำไม่ได้
การปรับตั้งเมนูโฟกัส
ในการทดสอบระบบโฟกัสของ EOS R6 Mark II ได้ทำการทดลองถ่ายภาพหลากหลายรูปแบบ ทั้งการแสดงโขน, ประเพณีปอยส่งลอง (บวชลูกแก้ว), รถไฟ และถ่ายภาพนก
จากการใช้งานพบว่า ระบบโฟกัสของ EOS R6 Mark II ทำงานได้รวดเร็ว และแม่นยำดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการถ่ายภาพนก ระบบโฟกัสสามารถจับเกาะติดการบินของนกได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ สามารถโฟกัสตานกได้อย่างแม่นยำคมชัด แม้จะถ่ายภาพด้วยการใช้ความไวชัตเตอร์ที่ค่อนข้างต่ำสำหรับการถ่ายภาพนก แล้วแพนกล้องตามนกระบบโฟกัสก็ยังสามารถโฟกัสติดตามได้ภาพนกที่คมชัดได้ดี
ถ่ายโดยใช้ Shutter speed ต่ำ แพนกล้องตามวัตถุ ระบบโฟกัสติดตามยังทำงานได้ดี, Canon EOS R6 Mark II, 1/1250 sec. f/16 ISO 100
Canon EOS R6 Mark II, 1/2000 sec. f/7.1 ISO 320
Canon EOS R6 Mark II, 1/2500 sec. f/8 ISO 1000
Canon EOS R6 Mark II, 1/1000 sec. f/7.1 ISO 160
Canon EOS R6 Mark II, 1/2000 sec. f/7.1 ISO 1000
Canon EOS R6 Mark II, 1/320 sec. f/5.6 ISO 5000
Canon EOS R6 Mark II, 1/60 sec. f/6.3 ISO 800
Canon EOS R6 Mark II, 1/500 sec. f/7.1 ISO 4000
Canon EOS R6 Mark II, 1/250 sec. f/11 ISO 400
Canon EOS R6 Mark II, 1/400 sec. f/8 ISO 400
Canon EOS R6 Mark II, 1/15 sec. f/6,3 ISO 6400
ทดสอบระบบลดการสั่น
ในการทดสอบระบบลดการสั่น ได้ทำการทดสอบการถ่ายภาพที่ความไวชัตเตอร์ต่ำในเวลาค่ำคืนโดยไม่ใช้ขาตั้ง ได้แก่ภาพแสงสีของหัวลำโพง ถ่ายภาพที่ความไวชัตเตอร์ 0.4 วินาที รูรับแสง F8 ความไวแสง ISO 100 พบว่าภาพถ่ายที่ได้มีความคมชัดดีมาก ไม่ปรากฏอาการไหวในภาพแต่อย่างใด
ถ่ายโดยใช้ Shutter speed 0.4 sec ถือกล้องแบบ handheld ไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง ถือว่าระบบกั่นสั่นทำงานได้ดีมาก, Canon EOS R6 Mark II, 0.4 sec. f/8 ISO 1000
อีกการทดสอบหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานที่น่าทึ่งของระบบลดการสั่นของกล้องรุ่นนี้ก็คือ การทดสอบด้วยการถ่ายภาพนกบินที่ความไวชัตเตอร์ 1/80 วินาที ด้วยการแพนกล้อง ซึ่งความเร็วชัตเตอร์ขนาดนี้ถือว่าเป็นความไวชัตเตอร์ที่ต่ำมากสำหรับการถ่ายภาพนกบิน จากภาพที่ได้พบว่า ได้ภาพนกที่คมชัด ตาชัด มีส่วนปีกของนกที่ไหวๆ อยู่ นั่นหมายความว่าระบบกันสั่นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการลดการสั่นไหวจากการถือแพนกล้องถ่ายภาพนก บวกกับระบบโฟกัสจับติดตามส่วนหัวของนกตลอด จึงได้ภาพที่นกที่คมชัด ส่วนของปีกนกที่มีการสั่นไหวนั้น เกิดจากความไวชัตเตอร์ต่ำการกระพือของปีกที่รวดเร็วจึงปรากฏเป็นส่วนไหวในภาพ
ถ่ายโดยใช้ Shutter speed ต่ำ ระบบโฟกัสติดตามยังทำงานได้ดี, Canon EOS R6 Mark II, 1/80 sec. f/16 ISO 100
ทดสอบ ISO
การทดสอบความไวแสงของ EOS R6 Mark II ทำการทดสอบด้วยการถ่ายภาพ Chart สี ตั้งแต่ ISO 100 ถึง ISO 102400 ซึ่งเป็นขนาด ISO สูงสุดของกล้องรุ่นนี้ ทำการถ่ายภาพด้วยการตั้งไฟล์ภาพทั้ง RAW และ JPEG
เมื่อพิจารณาจากภาพถ่าย ด้วยการขยายภาพที่ 100% พบว่า
สำหรับไฟล์ภาพ JPEG น่าทึ่งมากเลยทีเดียว ภาพถ่ายที่ ISO 100-6400 ไม่มี Noise ให้เห็น ส่วนภาพถ่ายที่ ISO12800-25600 พบว่ามี Noise บ้างเล็กน้อย และสำหรับภาพถ่ายที่ ISO 51200-102400 พบว่ามี Noise ให้เห็น แต่ถือว่าต่ำมาก จากภาพถ่ายด้วยการตั้งไฟล์ในกล้องเป็น JPEG กล้อง EOS R6 Mark II ให้ภาพไฟล์ JPEG ที่สีสันสดใสทุกช่วง ISO ให้ภาพที่มีสัญญาณรบกวนต่ำมากๆ ใช้งานได้อย่างสบายใจเลยทีเดียว ถือได้ว่ากล้องรุ่นนี้ให้ไฟล์ภาพ JPEG ที่ใช้งานได้ทันทีแบบสบายใจเลยทีเดียว
เพื่อความชัดเจนสำหรับเรื่องน่าทึ่งของไฟล์ JPEG ของกล้องรุ่นนี้ เราได้ทำการเปรียบเทียบกับ RAW file ที่ถ่ายภาพพร้อมกัน ทำการแปลงๆ ไฟล์เป็น JPEG โดยไม่ปรับแต่งใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อขยายภาพ 100% นำมาพิจารณาภาพดูพบว่า ภาพถ่ายที่ ISO100-1600 ไม่มี Noise ให้เห็น ภาพถ่ายที่ ISO 3200-6400 พบว่ามี Noise ให้เห็นแต่ถือว่าต่ำมากก็ว่าได้ ส่วนภาพถ่าย ที่ ISO12800-25600 พบว่า มี Noise ให้เห็นมากขึ้น แต่ภาพถ่ายก็ถือว่ายอมรับได้สำหรับการใช้งาน และภาพถ่ายที่ ISO 51200-102400 มี Noise ให้เห็นชัดเจน เหมาะสำหรับการใช้งานยามจำเป็น
ดังนั้นในการใช้งานถ่ายภาพสำหรับ EOS R6 Mark II ขอแนะนำว่า ถ้าแต่เดิมชอบตั้งไฟล์ภาพเป็น RAW file อย่างเดียวแล้วละก็ ขอแนะนำว่าควรตั้ง + JPEG ไว้ด้วยเลย เพราะไฟล์ภาพจาก ISO สูงๆ มี Noise ต่ำมากใช้งานได้เลยทันที เพราะการแปลงไฟล์ RAW ของภาพถ่ายที่ ISO สูงๆ อาจจะต้องปรับตั้งค่าช่วยเรื่อง Noise อีก
ทดสอบการถ่ายภาพต่อเนื่อง 40 ภาพต่อวินาที
Canon EOS R6 Mark II สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้ความเร็วสูงสุด 40 ภาพต่อวินาที เมื่อใช้ระบบชัตเตอร์อิเลคโทรนิค และถ่ายต่อเนื่องได้ 12 ภาพต่อวินาที เมื่อระบบชัตเตอร์กลไก (Mechanics shutter)
ดังนั้นถ้าต้องการถ่ายภาพให้ได้ความเร็วสูงสุดที่ 40 ภาพต่อวินาที สิ่งแรกที่ต้องปรับตั้งการทำงานของกล้องก็คือ ต้องตั้งระบบชัตเตอร์เป็น ระบบชัตเตอร์อิเล็คโทรนิค เพราะถ้าระบบชัตเตอร์อยู่ที่ ระบบ Mechanic ความไวชัตเตอร์จะอยู่สูงสุดที่ 12 ภาพต่อวินาทีเท่านั้น การปรับตั้งเลือกได้ในเมนู แล้วจึงเลือกการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ความเร็วสูงสุด
จากการทดสอบถ่ายภาพต่อเนื่อง ที่ความเร็ว 40 ภาพต่อวินาที เมื่อพิจารณาภาพถ่าย จะพบว่า ระบบโฟกัสทำงานโฟกัสติดตามวัตถุได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ภาพถ่ายสามารถเลือกใช้งานในจังหวะต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ทดสอบ Dynamic Range
ในการทดสอบ Dynamic Range ของ EOS R6 Mark II ซึ่งตามข้อมูลของกล้องรุ่นนี้สามารถรับการถ่ายภาพได้ถึง 8 สต็อป
ในการถ่ายภาพได้ทำการถ่ายภาพเพื่อการเปรียบเทียบคุณสมบัติข้อนี้ ได้ทำการถ่ายภาพที่ค่าแสงพอดี เพื่อเปรียบเทียบกับภาพที่ถ่ายในค่าแสงต่ำกว่าปกติตั้งแต่ -1 สต็อป ถึง -5 สต็อป และค่าแสงที่มากกว่าปกติคือที่ +1 สต็อป ถึง +2 สต็อป จากนั้นทำการ Process ภาพ ดูคุณภาพของภาพถ่าย
การถ่ายภาพค่าแสงปกติ, Canon EOS R6 Mark II, 1/2 sec. f/11 ISO 100
ผลของภาพถ่ายจากการถ่ายภาพ ที่ค่าแสง -1 ถึง -5 สต็อป และภาพถ่ายที่ถ่ายที่ค่าแสง +1 ถึง +2 สต็อป กับภาพถ่ายที่ค่าแสงพอดี พบว่า
ภาพถ่ายที่ค่าแสง -1 ถึง -2 สต็อป มีคุณภาพดีทั้งสีสัน ความคมชัด และรายละเอียดในภาพถ่าย Noise ต่ำมากแทบไม่ปรากฏ เมื่อเทียบกับภาพถ่ายที่ค่าแสงพอดี สำหรับภาพถ่ายที่แสง -3 สต็อป พบว่ามีคุณภาพดีทั้งสีสัน ความคมชัด และรายละเอียดในภาพถ่าย แต่มี Noise ปรากฏบ้างเล็กน้อย เมื่อเทียบกับภาพถ่ายที่ค่าแสงพอดี และสำหรับภาพถ่ายที่แสง -4 ถึง -5 สต็อป พบว่ามีมีคุณภาพดี ทั้งสีสันยังดีคงที่ ความคมชัด และรายละเอียดในภาพถ่ายลดลงเล็กน้อย แต่มี Noise ปรากฏเพิ่มขึ้นตามลำดับ คุณภาพของภาพถ่ายยังใช้งานได้ เมื่อเทียบกับภาพถ่ายที่ค่าแสงพอดี
ภาพถ่ายที่ค่าแสง -1 สต็อป
ภาพถ่ายที่ปรับแก้แล้ว
ภาพถ่ายที่ค่าแสง -2 สต็อป
ภาพถ่ายที่ปรับแก้แล้ว
ภาพถ่ายที่ค่าแสง -3 สต็อป
ภาพถ่ายที่ปรับแก้แล้ว
ภาพถ่ายที่ค่าแสง -4 สต็อป
ภาพถ่ายที่ปรับแก้แล้ว
ภาพถ่ายที่ค่าแสง -5 สต็อป
ภาพถ่ายที่ปรับแก้แล้ว
สำหรับภาพถ่ายที่ค่าแสง +1 ถึง +2 สต็อป เมื่อเทียบภาพถ่ายกับภาพที่ค่าแสงพอดีพบว่า คุณภาพสีสันของภาพถ่ายยังคงที่ดีอยู่ ความคมชัดของภาพถ่ายถือว่าคมชัดดี แต่การเก็บรายละเอียดในภาพถ่ายมีส่วนลดลงตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เป็น High light ของภาพถ่ายที่ +2 สต็อป อาจมีการสูญเสียรายละเอียดได้
ภาพถ่ายที่ค่าแสง +1 สต็อป
ภาพถ่ายที่ปรับแก้แล้ว
ภาพถ่ายที่ค่าแสง +2 สต็อป
ภาพถ่ายที่ปรับแก้แล้ว
สำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่ อาจจะสงสัยว่า เราเรียนรู้ในเรื่อง Dynamic Range ไปทำไม ในภาวะปกติคงไม่มีใครถ่ายภาพที่ Under ถึง 5 สต็อป หรือ ถ่าย Over ถึง 2 สต็อปหรอก ถึงถ่ายมาเห็นแล้วส่วนใหญ่ก็จะถ่ายใหม่ลบรูปเก่า…
แต่ประโยชน์สำหรับการเรียนรู้เรื่องนี้ก็คือ สำหรับกล้อง EOS R6 Mark II รุ่นนี้มี Dynamic Range ได้กว้างมาก รองรับ ภาพที่ถ่าย Under ได้ถึง 5 สต็อป และรองรับภาพที่ถ่าย Over ได้อีก 2 สต็อป (ซึ่งถ้ารวมค่าแสงพอดี ก็รวมแล้วเป็น 8 สต็อป) มีประโยชน์ต่อการถ่ายภาพได้หลายประการเลยทีเดียว
ประการแรก เมื่อเกิดการถ่ายภาพที่ค่าแสงผิดพลาด และไม่มีโอกาสในการถ่ายภาพใหม่ เราสามารถพยากรณ์ได้ว่า ภาพถ่ายที่ถ่ายผิดพลาดนั้นมีโอกาสที่จะทำการ Process ช่วยให้ฟื้นเพื่อการใช้งานได้หรือไม่ ในกล้อง EOS R6 Mark II มี Dynamic Range ที่กว้างถึง 8 สต็อป ดังนั้นภาพที่ถ่ายมาผิดพลาดแล้วไม่มีโอกาสถ่ายใหม่ จึงมีโอกาสฟื้นคืนมาใช้งานได้มากขึ้น
ประการที่สอง ที่เป็นประโยชน์มากสำหรับนักถ่ายภาพ ที่ต้องการภาพคุณภาพสูง แต่ถ่ายภาพในที่มีสภาพแสงที่แตกต่างกันมากในภาพที่ต้องการจะถ่าย นักถ่ายภาพที่ชำนาญการในเรื่องค่าแสง จะพยายามคิดคำนวณค่าแสงที่จะถ่ายเผื่อระวังค่าแสงส่วน High light ไม่ให้ค่าแสง Over เกิน +2 สต็อป เพื่อรักษารายละเอียดส่วนสว่างในภาพถ่าย และระมัดระวังส่วน Shadow ไม่ให้ Under เกิน -5 สต็อป ซึ่งจะทำให้สามารถฟื้นรายละเอียดในภาพถ่ายได้มากขึ้น จะเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายภาพงาน Landscape
ทดสอบระบบ RAW Burst Shot
RAW Burst Shot ถือว่าเป็นฟังก์ชั่นใหม่ที่เคยบรรจุไว้ให้ใช้งานในกล้อง EOS R7 รุ่นก่อนหน้านี้ ซึ่งแคนนอนก็ได้นำมาบรรจุไว้ให้ใช้งานใน EOS R6 Mark II ฟังก์ชั่นนี้เป็นฟังชั่นที่กล้องจะบันทึกภาพก่อนกดชัตเตอร์ไว้อีกประมาณ ครึ่งวินาที เหมาะสำหรับการถ่ายภาพต่อเนื่องแบบทันทีทันใด หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ ภาวะปกติกดชัตเตอร์ไม่ทันนั่นแหละ แต่กล้องจะบันทึกภาพล่วงหน้าไว้ให้ประมาณครึ่งวินาที
วิธีใช้งานก็คือ เลือกเปิดระบบทำงานในเมนูก่อนการถ่ายภาพ ตัวอย่างการถ่ายภาพ เช่น การรอถ่ายภาพนก เข้าออกจากรัง ในภาวะปกติส่วนใหญ่ก็จะกดชัตเตอร์ค้างรอจังหวะนกเข้ารังแล้วกดชัตเตอร์ ซึ่งนักถ่ายภาพส่วนใหญ่ก็มักจะกดชัตเตอร์ไม่ทัน แต่ถ้าเลือกตั้งฟังก์ชั่นนี้ใช้งานในการถ่ายภาพ การกดชัตเตอร์ค้างรอ แล้วกดชัตเตอร์ถ่ายระหว่างนกบินเข้ารัง กล้องจะบันทึกภาพก่อนการกดชัตเตอร์ไว้อีกประมาณครึ่งนาที จะได้ภาพก่อนการกดชัตเตอร์อีกประมาณ 14-15 ภาพที่กล้องเก็บบันทึกไว้ให้ เพิ่มโอกาสการได้ภาพมากยิ่งขึ้น
แต่ไฟล์ภาพจากการถ่ายภาพด้วยระบบนี้ ปกติจะเปิดดูไม่ได้ วิธีการเปิดดู ณ. วันนี้ ทำได้ 2 รูปแบบ หนึ่งคือ การเปิดภาพในกล้อง EOS R6 Mark II ซึ่งจะสามารเลื่อนดูเลือกเฟรมภาพได้ แล้ว ทำการแปลงไฟล์ในกล้อง EOS R6 Mark II ได้เลย สามารถแปลงไฟล์เป็น RAW หรือ JPEG หรือ HEIF ก็ได้ อีกวิธีหนึ่งคือการเปิดแล้วแปลงไฟล์ใน DPP ซึ่งเป็นซอฟแวร์ของแคนนอนโดยตรง ยังไม่สามารถเปิดได้ในซอฟแวร์อื่นๆ
raw burst mode
ทดสอบระบบ Digital Tele-Converter
อีกฟังก์ชั่นหนึ่งที่น่าใช้งานมากๆ สำหรับกล้อง Canon EOS R6 Mark II ก็คือ Digital Tele-Converter เป็นฟังก์ชั่นสำหรับเพิ่มทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่ใช้งานในตัวกล้องเป็นระบบดิจิทัล ที่ให้ภาพความละเอียดสูงเท่ากับความละเอียดของเซ็นเซอร์ ซึ่งมีให้เลือกตั้งได้ 2 ระดับ คือที่ขนาด 2X และ 4X
การใช้งานเพียงเปิดระบบทำงานได้จากเมนู แล้วเลือกได้เลยว่าต้องการใช้งานที่ 2X หรือ 4X แต่ถ้าตั้งการถ่ายภาพเป็น RAW file ระบบนี้จะไม่ทำงาน ต้องตั้งเป็นไฟล์ JPEG อย่างเดียวระบบนี้จึงจะทำงาน
Digital teleconverter ถ่ายในระยะปกติ, Canon EOS R6 Mark II, 1/500 sec. f/8 ISO 4000
Digital teleconverter เปิดขยาย 2X, Canon EOS R6 Mark II, 1/500 sec. f/8 ISO 5000
Digital teleconverter เปิดขยาย 4X, Canon EOS R6 Mark II, 1/500 sec. f/8 ISO 8000
Video 4K [6K Oversampling] 59.94p
ระบบ Video ของ Canon EOS R6 Mark II เป็นวิดีโอคุณภาพระดับ 4K 59.94p การบันทึกวิดีโอจะทำการบันทึกเป็น 6K แล้ว Oversampling เป็น 4K พร้อมด้วย Canon Log3 ให้ภาพที่มีสีสันสมบูรณ์ มีรายละเอียดและความคมชัดสูง Noise ต่ำกว่าการบันทึกแบบ 4K โดยตรง สามารถบันทึก 6K/ 60P RAW (External) ผ่าน HDMI output
EOS R6 Mark II สามารถถ่ายวิดีโอได้ไม่มีจำกัดเวลาจนกว่าแบตเตอรี่หมด ซึ่งต่างไปจาก EOS R6 รุ่นเก่าที่จำกัดเพียง 30 นาทีเท่านั้น
Full HD Super Slow Motion 179.82 p
Canon EOS R6 Mark II ได้เพิ่มการถ่ายภาพวิดีโอแบบ Super Slow Motion 179.82p ให้ใช้งานซึ่งจะได้ภาพที่การเคลื่อนไหวของวัตถุช้าลงถึง 6 เท่า เมื่อนำมา Play ที่ 30 เฟรมต่อวินาที
การใช้งานถ่ายภาพเพียงแต่เข้าไปตั้งในเมนูชุดการถ่ายภาพ Video High Frame Rate ตั้งการถ่ายเป็น Full HD สามารถเลือกได้ทั้งแบบ 120p ที่เป็น Slow Motion หรือ 179.82p ที่เป็น Super Slow Motion การถ่ายในระบบนี้ต้องตั้งการถ่ายของกล้องเป็น Full HD เท่านั้น
Video 180 fps
ทดสอบระบบถ่ายภาพ Hybrid Auto
ในกล้อง Canon EOS R6 Mark II รุ่นนี้มีระบบถ่ายภาพหนึ่งที่ขอแนะนำเลยทีเดียวใช้งานง่าย ไม่ต้องคิดมาก ได้งานที่น่าชมทันที นั่นคือ ระบบถ่ายภาพในโหมด Hybrid Auto ง่ายยังไงหรือครับ ถ้าคุณถ่ายภาพนิ่งไปเรื่อยๆ แล้วได้คลิป Video แถมมาด้วยจากกล้อง โดยไม่ต้องทำอะไรเลย อย่างนี้ต้องบอกว่าง่ายมาก
การเลือกโหมด Hybrid Auto สามารถเลือกตั้งได้จากบนแหวนที่อยู่ด้านบนของกล้องสำหรับการเลือกตั้งระบบถ่ายภาพ หมุนเลือกไปที่เป็นรูปกล้องและฟิล์ม ก็เข้าโหมดนี้ได้ทันที
ในโหมด Hybrid Auto นี้เพียงแต่คุณเที่ยวไปกดถ่ายภาพนิ่งไป ทุกครั้งที่คุณถ่ายภาพนิ่งไปกล้องจะทำการบันทึกภาพวิดีโอตามไปด้วยประมาณ 2-4 วินาที เป็นแบบ Full HD 30p และกล้องจะทำการรวมวิดีโอทำเป็นคลิปสั้นๆ โดยอัตโนมัติ ที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที เหมาะสำหรับคนชอบถ่ายภาพด้วยชอบวิดีโอด้วย สามารถมีคลิปออกได้ทุกวันเลยทีเดียว
hybrid auto
เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์สตรีมสดได้ทันที
ข้อดีของ EOS R6 Mark II รุ่นนี้อีกประการหนึ่ง นั่นคือสามารถทำการสตรีมมิ่งสดได้ทันทีเมื่อมีคอมพิวเตอร์กับอินเตอร์เนตให้ทำการ เพียงแต่ทำการเชื่อมต่อกล้องเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยสาย USB ที่รองรับ USB Video Class/USB Audio Class (UVC/UAC) รองรับการทำงานได้ทั้ง Windows และ Mac OS โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่น หรือ ไดร์เวอร์ หรือ แอปพลิเคชั่นเพิ่มแต่อย่างใด
บทสรุป
จากการที่ได้ทดลองใช้งานกับ Canon EOS R6 Mark II ในเวลาจำกัดประมาณ 3 อาทิตย์ ซึ่งถ้านับวันที่ใช้งานถ่ายจริงๆก็จะอยู่ประมาณสิบกว่าวันเท่านั้น ส่วนหนึ่งก็คือการพยายามศึกษาสมรรถนะของกล้อง อีกส่วนหนึ่งก็คือ การทำความคุ้นเคยและทดสอบถ่ายภาพกับกล้องรุ่นนี้ แต่ก็เพียงพอที่จะนำมาคุยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับกล้องรุ่นนี้ได้ครับ
Canon EOS R6 Mark II ได้รับการพัฒนาที่ก้าวหน้ากว่า EOS R6 ไปมากโขเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของระบบโฟกัสของกล้อง ความเร็วในการโฟกัสที่รวดเร็วแม่นยำมากกว่ารุ่นก่อนหน้านี้อย่างเห็นได้ชัด ระบบกันสั่นที่บรรจุมาใน EOS R6 Mark II ทำงานได้มีประสิทธิ์ภาพสูง ถ่ายต่อเนื่องได้รวดเร็วแม่นยำ 40 ภาพต่อวินาทีรวมทั้งฟังก์ชั่นใหม่ๆ ที่บรรจุมาให้ใช้งาน แน่นอนว่า ยังมีฟังก์ชั่นอีกเยอะมากที่ยังแนะนำได้ไม่หมด อย่างเช่น HDR mode ที่ใช้งานกับวัตถุเคลื่อนไหวได้แล้ว เป็นต้น
ถ้าพิจารณา Level ของกล้องกันจริงๆ บางท่านก็บอกว่าเป็นกล้อง Professional บางท่านก็ว่าเป็นกล้องระดับ Semi-Professional แต่สำหรับผมแล้วขอบอกว่า EOS R6 Mark II เป็นกล้องใช้งานระดับมืออาชีพเต็มๆ เลย ที่สามารถใช้งานในอาชีพ ให้ภาพถ่ายที่เป็นภาพนิ่งและวิดีโอคุณภาพสูงได้อย่างสบายใจเลยทีเดียว และสำหรับนักถ่ายภาพที่ชมชอบการถ่ายภาพ EOS R6 Mark II ก็สามารถตอบโจทย์ส่วนใหญ่ที่ช่างภาพต้องการได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยสมรรถนะของกล้องที่ได้นำมาเสนอในเบื้องต้นแล้ว
สิ่งที่ขอบอกในท้ายนี้…กล้องรุ่นนี้มีสมรรถนะให้ใช้งานได้มากกว่าที่คิด การขุดค้นในเมนูให้ครบเครื่อง จะทำให้ท่านพบว่า Canon EOS R6 Mark II มีฟังก์ชั่นต่างๆ ให้ท่านได้ใช้งานเพียบ ถ่ายภาพได้อย่างสนุกสนานสบายใจ และเป็นกล้องที่ท่านสั่งให้ทำงานตามใจท่านได้ครับ…
ขอขอบคุณ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด
ที่ให้การสนับสนุนกล้อง Canon EOS R6 Mark II และ เลนส์ สำหรับการทดสอบครั้งนี้
#CanonThailand, #CanonImagingThailand, #R6MarkII, #6ameChangeR
Photo Gallery
เมื่อสามารถดัน ISO ได้สูงโดยที่มีสัญญาณรบกวนต่ำ การถ่ายภาพการแสดงโขนก็สามารถเลือกใช้ Shutter speed สูงเพื่อหยุดท่าทางของนักแสดงได้, Canon EOS R6 Mark II, 1/500 sec. f/7.1 ISO 5000
ถ่ายโดยใช้ Shutter speed ต่ำ แพนกล้องตามวัตถุ ระบบโฟกัสติดตามยังทำงานได้ดี, Canon EOS R6 Mark II, 1/500 sec. f/7.1 ISO 5000
เปิดโหมด RAW Burst Mode ภาพนกหน้ารังสามารถถ่ายได้สบายๆ, Canon EOS R6 Mark II, 1/3200 sec. f/8 ISO 6400
Canon EOS R6 Mark II, 1/7.1 sec. f/1600 ISO 2500
Canon EOS R6 Mark II, 1/2000 sec. f/7.1 ISO 1600
Canon EOS R6 Mark II, 1/2500 sec. f/8 ISO 1600
Canon EOS R6 Mark II, 1/3200 sec. f/7.1 ISO 2500
Canon EOS R6 Mark II, 1/2500 sec. f/10 ISO 3200
Canon EOS R6 Mark II, 1/2500 sec. f/8 ISO 1250
Canon EOS R6 Mark II, 1/1250 sec. f/7.1 ISO 1000
Canon EOS R6 Mark II, 1/2000 sec. f/7.1 ISO 5000
Canon EOS R6 Mark II, 1/100 sec. f/18 ISO 800
Canon EOS R6 Mark II, 1/15 sec. f/5.6 ISO 800
Canon EOS R6 Mark II, 1 sec. f/5 ISO 1600
Canon EOS R6 Mark II, 15 sec. f/2.8 ISO 1600
Canon EOS R6 Mark II, 1/320 sec. f/11 ISO 400
Canon EOS R6 Mark II, 1/400 sec. f/8 ISO 400
Canon EOS R6 Mark II, 1/200 sec. f/11 ISO 400
Canon EOS R6 Mark II, 1/250 sec. f/11 ISO 400
Canon EOS R6 Mark II, 1/500 sec. f/7.1 ISO 3200
Canon EOS R6 Mark II, 1/500 sec. f/7.1 ISO 3200