https://drive.google.com/drive/folders/1ZdE_mRhpgrQQrubTtljKwsXuD6y1An23
สามารถซื้อหนังสือออนไลน์ได้บน AIS Bookstore
http://www.ookbee.com/Shop/Magazine/CAMERARTMAGAZINE
TEST REPORT
กระเป๋าเป้ Backpack…F-STOP รุ่น LOTUS
LOTUS เป็นกระเป๋าเป้ แบบ Backpack รุ่นเล็กที่สุดของ Mountain Series ของ F-STOP ที่ได้รับการออกแบบด้วยการใส่ความเป็น Adventure Lifestyle ให้ความสบายในการสะพายหลังเดินทาง ด้วยแผงกระชับหลังที่นุ่มสบายแนบเข้ากับสรีระของร่างกายผสมผสานกับวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูงที่ให้ความแข็งแรงทนทาน และมีน้ำหนักเบา เนื้อผ้ากันน้ำ และทนทานต่อการขีดข่วนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งระบบซิปกันน้ำ เพื่อปกป้องกล้องและอุปกรณ์รวมทั้งสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในสามารถใช้งานได้ในทุกสภาพอากาศ พร้อมทั้งถุงกันน้ำสำหรับใส่ประเป๋าได้ทั้งใบมาให้ใช้งาน
LOTUS มีรูปทรงที่กะทัดรัด มีความจุ 32 ลิตร พร้อมทั้งฟังก์ชั่นการทำงานแบบเดียวกับ Mountain Series รุ่นใหญ่ ภายในกระเป๋ามีกระเป๋าสำหรับบรรจุกล้องแยกไว้ให้ สามารถบรรจุกล้องได้ 2 ตัวพร้อมเลนส์ประมาณ 4 ตัว (รวมเลนส์ซูม 70-200 มม. หรือ 100-400 มม. พร้อมแฟลชอีก 1 ตัว การเปิดใช้กล้อง สามารถเปิดได้จากด้านหลังของเป้ได้โดยตรงโดยไม่ต้องดึงกระเป๋าส่วนบรรจุกล้องออกจากตัวเป๋
Review SONY A7 RIII
ระบบ Eye AF เป็นระบบโฟกัสอัตโนมัติ ที่กล้องจะโฟกัสติดตามดวงตาของวัตถุ (Tracking) เป็นระบบติดตามวัตถุอัตโนมัติ ที่เป็นประโยชน์มากสำหรับการถ่ายภาพ Portrait ที่แบบมีการขยับเคลื่อนที่ ระบบนี้จะทำการโฟกัสที่ดวงตาของแบบและติดตามตัวแบบทำให้ได้ภาพแบบที่มีดวงตาคมชัด
ในการทดสอบ ระบบนี้ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วดีมากสำหรับการถ่ายภาพบุคคลที่ต้องการโฟกัสเข้าที่ดวงตา ระบบของกล้องตั้งมาให้ใช้งานที่ปุ่ม Confirm focus ที่หลังกล้อง เมื่อกดปุ่มนี้ค้างไว้ในขณะถ่ายภาพบุคคล ระบบโฟกัสจะวิ่งหาดวงตา และ Tracking ตามดวงตาทันทีทำงานได้ว่องไวดีกว่าในกล้อง 7II กว่า 2 เท่า ภาพที่ได้ มีดวงตาที่คมชัดดีมาก ระบบนี้ได้รับการพัฒนาให้รองรับ เลนส์ A-mount ที่ใช้ร่วมกับ LA-EA3 adapter
Tamron 100-400 mm. f/4.5-6.3 Di VC USD
Tamron 100-400 mm. f/4.5-6.3 Di VC USD คือชื่อเลนส์ตัวนี้อย่างเป็นทางการจากชื่อเลนส์ ทำให้พอจะทราบได้ถึงสเปคของเลนส์ตัวนี้ได้ไม่ยาก เริ่มจาก ช่วงทางยาวโฟกัสของเลนส์ 100-400 มม. เรียกว่าเป็นช่วงที่ทำมาให้กับช่างภาพสายถ่ายไกล เช่น กีฬา นก สัตว์ป่า ฯลฯ f/4.5-6.3 หมายความว่า ช่องรับแสงที่กว้างสุดที่ 4.5 เมื่อซูมเลนส์อยู่ที่ 100 มม. และแคบสุดที่ 6.3 เมื่อซูมเลนส์ไปที่ทางยาวโฟกัส 400 มม. และมีระบบ VC (Vibration Compasation) ป้องกันการสั่นไหว
ในเรื่องของคุณสมบัติ และสเปคของเลนส์ตัวนี้ ปัจจุบันนี้เราคงหาข้อมูลกันได้ไม่ยากและผมคิดว่าทุกท่านคงมีข้อมูลอยู่แล้วพอสมควรนะครับ สิ่งสำคัญนับจากนี้คือการทดลองใช้งานภาคสนาม การนำไปใช้งานจริงที่หลายคนอยากรู้มากกว่า การนำลงสนามในครั้งนี้ที่จะทำให้เรารู้ได้ว่า เลนส์ตัวนี้เมื่อนำมาใช้จริงแล้วได้ผลเป็นอย่างไร
PHOTO TECHNIQUE
เทคนิคการถ่ายพลุ
สำหรับคนถ่ายภาพพลุ…เราได้ว่างเว้นกับเรื่องการถ่ายพลุมาแรมปี เพิ่งจะมีการยิงพลุให้เห็นก็เมื่อปีใหม่ที่ผ่านมานี้เอง เชื่อว่าปีนี้…น่าจะมีการยิงพลุให้นักถ่ายภาพได้สนุกกับการถ่ายภาพพลุได้มากขึ้น สำหรับนักถ่ายภาพมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นกับการถ่ายภาพ CAMERART ฉบับนี้ก็ขอถือโอกาสนำ เทคนิค…การถ่ายภาพพลุ…มาฝากครับ…
อุปกรณ์จำเป็น
เรื่องแรกที่ควรรู้สำหรับการถ่ายภาพพลุ…ก็คือ อุปกรณ์ที่ควรใช้
กล้องถ่ายภาพ ควรเป็นกล้อง D-SLR หรือกล้อง Mirrorless ที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ขนาดของเลนส์ที่ใช้ อาจจะใช้ทั้งเลนส์มุมกว้าง หรือ เลนส์เทเลโฟโต้ ขึ้นกับระยะทางที่ทำการถ่ายภาพ และขนาดของพลุ ควรเตรียมให้พร้อม
ขาตั้งกล้อง จำเป็นต้องใช้ เพื่อป้องกันการสั่นไหวขณะถ่ายภาพ เนื่องจากการถ่ายภาพพลุเป็นการถ่ายภาพแบบ Long Exposure ใช้เวลาในการถ่ายหลายวินาที ขาตั้งควรมีความมั่นคงแข็งแรง
สายลั่นไกชัตเตอร์ ควรมีใช้งาน ป้องกันการสั่นไหวขณะกดชัตเตอร์
Dynamic Symmetry
Dynamic Symmetry เป็นหลักการออกแบบเชิงเรขาคณิตที่ใช้มาเมื่อ 2,500 ปีที่แล้วหลักการของ Dynamic Symmetry ก็คือการจัดวางองค์ประกอบภาพให้สมดุล เป็นกฎที่ศิลปินนักวาดภาพนิยมใช้อีกกฎหนึ่ง โดยเฉพาะงานที่มีความสลับซับซ้อนมีองค์ประกอบที่หลากหลาย ซึ่งการใช้กฎอื่นดูจะจัดวางได้ยากแต่ Dynamic Symmetry กับทำงานได้อย่างดีทีเดียว ที่ผมบอกว่า Dynamic Symmetry ทำงานได้ดีนั้นก็เพราะว่า Dynamic Symmetry เป็นการรวมเส้นตั้ง เส้นนอน และเส้นทแยงมุม มาใช้ในการจัดวางองค์ประกอบในพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมาะสำหรับการจัดวางองค์ประกอบที่มีจำนวนวัตถุมากๆ มีความหลากหลายในเรื่องตำแหน่งที่ซับซ้อน โดยมุ่งหวังให้เกิดจุดสนใจที่โดดเด่นและได้สมดุลของภาพโดยรวมไปพร้อมกัน
Don’t worry Shooting in low light
ระบบการถ่ายภาพของ กล้องถ่ายภาพสมัยก่อน ทั้งระบบฟิล์ม และดิจิตอล เมื่อนำมาถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยนั้น โอกาสที่จะได้ภาพที่มีคุณภาพเป็นไปได้ยาก แต่มาในปัจจุบันนี้ เราสามารถถ่ายภาพได้แม้ในสภาพแสงที่น้อยมาก ด้วยเทคโนโลยีและซอฟแวร์ที่อยู่ในกล้อง ทำให้สามารถบันทึกรายละเอียดต่างๆ ในภาพได้อย่างชัดเจนมากขึ้น และนั่นเป็นโอกาสอันดีที่ในยุคนี้ เราจะสามารถเก็บภาพถ่ายในอีกรูปแบบ อีกอารมณ์หนึ่ง จากในสถานการณ์ที่สภาพแสงน้อยมากๆ ซึ่งกล้องในปัจจุบันทำงานได้ดีมาก แต่ช่างภาพหลายคนอาจจะยังกังวลอยู่บ้างเมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว
เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น การถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยทำได้ง่ายขึ้น แต่ก็ใช่ว่าการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อยๆ จะเพิ่งเป็นที่นิยมในยุคนี้ ในสมัยก่อนนั้น ช่างภาพหลายคนก็ชื่นชอบที่จะบันทึกภาพในสภาพแสงน้อยๆ ด้วยเช่นกัน และแทบไม่น่าเชื่อว่า สภาพแสงที่น้อยนิดนั้น ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการถ่ายภาพของพวกเขาเหล่านั้นเลย กลับกัน ภาพถ่ายที่สวยงามได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากสภาพแสงอันน้อยนิดเหล่านั้น และน่าแปลกใจที่พวกเขาเหล่านั้นบันทึกภาพออกมาได้ดี ทีนี้เรามาดูกันว่า ในสภาพแสงที่น้อยนั้นเราสามารถสร้างสรรค์อะไรได้บ้าง
TRAVEL
ชมดอกไม้หน้าหนาว ดาวเรือง ทานตะวัน
ช่วงปลายปีเป็นช่วงเวลาที่ดอกไม้หลายประเภทเบ่งบาน เช่น ดอกบัวตองที่ดอยแม่อูคอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดอกบัวตองผมไม่ได้ไปชมครับ ทุ่งดอกไม้สุดฮิตอีกที่หนึ่งคือ ทุ่งดอกทานตะวันจังหวัดลพบุรี หรือที่ใกล้ตัวที่สุดก็เป็นดอกดาวเรืองที่หลังโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ริมถนนเกษตรนวมินทร์ ดอกบัวตอง และดอกทานตะวัน มีระยะเวลาบานที่อยู่ได้ไม่นานนัก ส่วนดอกดาวเรืองที่สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ปลูกและดูแล อยู่ได้นานหลายเดือน ผมไปเก็บภาพมาฝากกันสองที่ครับ คือทุ่งดอกทานตะวัน เขาจีนแล จังหวัดลพบุรี และทุ่งดอกดาวเรือง ถนนเกษตรนวมินทร์หลังโรงเรียนสตรีวิทยา 2 กรุงเทพมหานคร
MISCELLANEOS
นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “กาวยประภา”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ประจำปี 2560 ในหัวข้อ “กาวยประภา” หรือ “Poetry of Light” ภาพถ่ายที่สะท้อนให้เห็นสีที่ประกอบกันเป็นภาพที่มีความหมาย และความงามที่เรียงร้อยเป็นระเบียบเห็นได้ด้วยสายตา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมี นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นายดาว วาสิกศิริ นายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, นายนิติกร กรัยวิเชียร เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมการถ่ายภาพ นางลักขณา คุณาวิชยานนท์ ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และคณะผู้จัดงานเฝ้าฯ รับเสด็จ ภายหลังจากเสด็จถึงหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครหม่อมหลวงรดีเทพ เทวกุล และ นางลักขณา คุณาวิชยานนท์ ทูลเกล้าฯ ถวายมาลัยข้อพระกร จากนั้น เสด็จฯ ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 โดยมี นายดาว วาสิกศิริ นายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กราบบังคมทูลถวายรายงาน ก่อนที่จะเบิกผู้จัดและผู้สนับสนุนการจัดงานเข้ารับพระราชทานของที่ระลึก
Leica ตำนานกล้องที่ช่างภาพใฝ่ฝัน ตอน 2
มีผู้ถามมาเกี่ยวกับกล้อง Leica…เรียนตามตรงว่า ส่วนตัวสัมผัสกับ Leica น้อยมากก… แทบจะไม่ได้สัมผัสใช้งานเลยก็ว่าได้… ในอดีตเคยลองถ่าย 2-3 ครั้ง เมื่อทดลองกล้อง แต่ไม่ได้ใช้งานอย่างจริงจังกับกล้อง Leica ตอบตรงๆ ว่า ด้วยราคาของกล้องและเลนส์ที่ค่อนข้างสูงมาก
แต่ที่หาญกล้ามาเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวของ Leica นั้นก็ต้องขอขอบคุณ คุณยงยุทธ แห่งร้าน ช.ศิลป์ชัย ที่เสียชีวิตไปแล้วได้จุดประกายให้เข้ามาอ่านเรื่องราวของ Leica จนได้ทำบทความต่อกันมายาวนานตั้งแต่ปี 2532 เมื่อครั้งที่ นิตยสารคาเมร่า เปลี่ยนแปลงมาเป็นนิตยสาร CAMERART ใหม่ๆ
ในครั้งนั้น กล้อง Leica เริ่มแนะนำกล้องคอมแพค 35 มม. Autofocus แล้วมาถามคุณยงยุทธ ว่าได้ลองใช้หรือยังแล้วมีความเห็นอย่างไร ซึ่งคุณยงยุทธก็ได้ตอบไปว่า ไม่ค่อยตื่นเต้นนัก เพราะสำหรับผู้ที่ได้สัมผัสกับLeica และศึกษาเรื่องราวของ Leica จะมีความรู้สึกตรงกันอย่างหนึ่งก็คือ จะยกย่องชมเชย และรัก โดยถือว่า Leica เป็นกล้อง Classic ที่มีเรื่องราวต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน และยังคงอยู่คู่กับวงการถ่ายภาพมาตลอดนับตั้งแต่ยุคของกล้องฟิล์ม จนมาเป็นกล้องดิจิตอลในเวลานี้ ด้วยรูปลักษณ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้กล้อง Leica จัดเป็นกล้องที่น่าใช้ น่าสะสมจนถึงวันนี้
บ้านของพ่อ
เราเดินมาถึงโรงงานทำนมเม็ดและเห็นการเผาแกล็บอัดแท่งๆ การนำน้ำนมที่เคยล้นตลาด เพราะการส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงวัวนม ไทยเดนมาร์คที่สระบุรี เมื่อหลายสิบปีมาแล้วพระองค์แนะการแก้ปัญหาด้วยการทำนมฟลูออนไรด์ นมยูเอชที ทำนมเม็ด ขยายโรงงานไปที่ราชบุรี การทดลองเริ่มต้นทำใน “บ้านของพ่อ” ให้เห็นผลดีก่อนขยายและนำไปสู่ชุมชน
อีกทั้งที่เราไม่ได้เห็น คือบ่อที่เคยอนุบาลพันธุ์ ที่ได้รับพระราชทานจากองค์จักรพรรดิอากิฮิโต้ แห่งญี่ปุ่น ขณะที่ยังดำรงอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร ปี 2508 อนุบาลจนเติบโต นำปลาพื้นเมืองมาผสมพันธุ์ตั้งชื่อว่าปลานิล ได้ขยายพันธุ์ ออกลูกหลานให้กรมประมงนำไปปล่อยแม่น้ำลำคลอง หรือมอบให้ชาวประมงไปเพาะเลี้ยง จนเป็นอาหารปลายอดนิยมในปัจจุบัน
การได้เดินดูใน “บ้านของพ่อ” และได้นำมาเล่าต่อเพื่อยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ 9 จะยังคงอยู่ในใจประชาชนตลอดไป