เรื่อง+ภาพ : Sompoch Tangthai
ในการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นนั้น ระบบถ่ายภาพต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องใช้ เพื่อเก็บจังหวะของภาพที่น่าสนใจเอาไว้ได้ทันท่วงที และถ้าจะพุดถึงกล้องที่สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องได้มากที่สุดในเวลานี้ คงหนีไม่พ้นที่จะเอ่ยถึงกล้อง Sony Alpha 1 และอย่างที่ผมเคยบอกไปในบทความก่อนหน้านี้ เรื่องของเลนส์ซูม SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในเรื่องของความคล่องตัว และการใช้งานที่สะดวก เมื่อมาจับคู่กับกล้องที่มีระบบถ่ายภาพต่อเนื่องได้รวดเร็ว การจับจังหวะแอคชั่นของนกที่เราต้องการก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
จุดที่น่าสนใจ
กล้องตัวนี้แม้จะออกมาสู่ท้องตลาดได้สักระยะหนึ่งแล้ว เรื่องสเปกคงไม่ต้องพูดอะไรกันมาก หนึ่งในคุณสมบัติที่สะดุดตาที่สุดของ Sony a1 คือความสามารถในการถ่ายภาพที่ 30 ภาพต่อวินาที (30 fps) แม้จะเป็นกล้องที่มีความละเอียดสูงถึง 50MP ก็ตาม แต่การถ่ายภาพต่อเนื่องที่ 30 fps มีเงื่อนไขบางอย่างคือจะต้องใช้งานในโหมด JPEG หรือ HEIF หรือ RAW แบบ Compressed เท่านั้น
มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ 30 fpsอีกอย่างก็คือ ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์อย่างน้อย 1/125 วินาทีเพื่อให้ได้ความเร็วสูงสุดจากกล้อง และอยู่ในโหมดโฟกัสแบบ AF-C ทั้งนี้เมื่อกล้องถูกตั้งค่าอยู่ที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่า 1/125 วินาที หรือเปลี่ยนเป็น Raw แบบ Uncompressed การถ่ายภาพต่อเนื่องจะลดลงมาที่ 20 fps แม้ว่าจะเลือกใช้โหมด Hi+ แล้วก็ตาม
ระบบถ่ายภาพต่อเนื่อง 30 fps ทำให้บันทึกภาพที่มีจังหวะที่ดีที่สุดมาเลือกใช้งานได้ง่าย
ความเร็วอีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือ เมื่อใช้การ์ดที่เป็นแบบ CF express Type A จะทำให้สามารถถ่ายภาพ JPEG แบบฟูลเฟรมได้ประมาณ 165 ภาพ หรือภาพ RAW แบบ Compressedได้ 155 ภาพ เมื่อใช้โหมดการถ่ายภาพต่อเนื่อง Hi+ เช่นกัน
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
อย่างที่เรารู้กันอยู่แล้วว่ากล้อง Sony Alpha 1 เป็นกล้องระดับเรือธงของทางค่ายโซนี่ ที่มีระบบการถ่ายภาพต่อเนื่องได้ถึง 30 ภาพต่อวินาที ที่ความเร็วระดับนี้เมื่อนำมาถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่น สิ่งที่ได้คือจังหวะการขยับปีกของนกในท่วงท่าลีลาต่างๆ ซึ่งทำให้เราจับจังหวะเหล่านั้นไว้ได้ และได้ภาพที่จะมาเลือกใช้งานได้หลากหลายจังหวะ
แน่นอนว่าสำหรับคนที่ถ่ายภาพนกแอคชั่นนั้น เราไม่ได้ต้องการจำนวนภาพมากมายถึง 30 ภาพหรอกครับ สิ่งที่เราต้องการก็คือ ภาพไม่กี่ภาพ หรืออาจจะเพียงแค่ภาพเดียวที่เป็นจังหวะสมบรูณ์ที่สุดของนกตัวนั้น และเป็นจังหวะที่พอดีที่สุดในท่าทางหรือแอคชั่นของนกตัวนั้นด้วย ซึ่งตรงจุดนี้แล้วต้องบอกว่า การถ่ายภาพต่อเนื่องได้ 30 ภาพต่อวินาทีของ Sony Alpha 1 นั้นตอบโจทย์เป็นอันมาก ทำให้เรามีภาพเสี้ยวเวลาการขยับของนกในแต่ล่ะแอคชั่นมาให้เลือกใช้งานได้
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
การโฟกัสนั้นไม่ต้องกังวล ด้วยกล้อง Sony a1 มีระบบโฟกัสที่รวดเร็วด้วยระบบโฟกัสถือเป็นจุดเด่นของ Sony อยู่แล้ว โดยเฉพาะ Hybrid AF ที่เป็นการผสานระหว่าง PDAF และ CDAF เข้าด้วยกันในกล้องตัวนี้ ทำให้การโฟกัสภาพมีความรวดเร็ว แม่นยำ และจุดโฟกัส 759 จุด ที่กระจายรอบ Sensor ครอบคลุมพื้นที่ 92% มีผลอย่างมากเมื่อตั้งพื้นที่โฟกัสแบบ Wide Area สำหรับการใช้พื้นที่โฟกัสแบบโซนที่ผมชอบนั้นไม่ต้องพูดถึง จุดโฟกัสวิ่งหาเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ข้อสรุป
เมื่อได้มีโอกาสลองนำกล้อง Sony Alpha 1 ที่ถ่ายภาพต่อเนื่องได้อย่างรวดเร็วมาจับคู่กับเลนส์ SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS ที่มีความคล่องตัวในการใช้งาน ซึ่งรายละเอียดของเลนส์ตัวนี้ผมเคยกล่าวไว้ในบทความก่อนหน้ามาแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เลนส์ในระดับ Top แต่ก็ให้ผลของภาพที่ดีพอ การนำมาถ่ายภาพนกแอคชั่นในรอบนี้เมื่อได้ลองใช้งานกล้องและเลนส์ชุดนี้คู่กันแล้วนั้นผมพบว่า
สัมผัสของการจับถือที่คล่องตัว ทำให้การถ่ายภาพนกแอคชั่นแบบ Handheld ทำได้อย่างสะดวก ด้วยทั้งบอดี้และเลนส์ที่มีขนาดเล็กน้ำหนักไม่มาก และช่วงทางยาวโฟกัสที่ซูมได้ถึง 600 มม.ทำให้การเข้าใกล้นกเพื่อถ่ายภาพสะดวกมากขึ้นแม้ว่าจะไม่ได้ใช้อุปกรณ์เสริมอย่างโมโนพอด หรือขาตั้งกล้องก็ตาม
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ในเรื่องของคุณภาพของไฟล์ภาพที่ได้ ที่ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลนั้นสามารถทำงานร่วมกันกับเลนส์ 200-600 G ได้ดี ซึ่งภาพที่ได้มีความคมชัดเป็นอย่างดี การเก็บรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องการของนก กล้องและเลนส์สามารถบันทึกมาให้เราได้อย่างเต็มที่ ไฟล์ภาพ RAW แบบ Compressed ยังเป็นไฟล์ภาพที่มีความยืดหยุ่นได้ดีกับการปรับภาพนกที่ถ่ายมาได้ ซึ่งตรงนี้สำหรับผมแล้วถ้าจะให้เลือกระหว่างการถ่ายภาพนกประเภทแอคชั่นได้ต่อเนื่อง 30 fps กับ RAW แบบ Uncompressed ผมขอเลือก 30fps มากกว่า ซึ่งจากไฟล์ภาพที่ได้มานั้นก็เป็นที่น่าพอใจทีเดียวครับ
การถ่ายภาพต่อเนื่องก็อย่างที่กล่าวไว้ในช่วงแรก ที่โหมด H+ เมื่อเลือกคุณภาพไฟล์ที่ RAW แบบ compressed ตั้งระบบโฟกัสเป็น AF-C และเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่มากกว่า 1/125 วินาที ผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นไปตามที่เราต้องการ คือจังหวะของแอคชั่นต่างๆ ของนก การขยับปีก การเคลื่อนที่ กล้องสามารถจับเสี้ยวเวลาเหล่านั้นมาให้เราได้ จนเราได้ภาพที่มีจังหวะของนกที่สมบูรณ์
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ภาพนิ่งจากการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ 30 fps นำมาทำคลิปวีดิโอ
สำหรับการจับคู่กันของกล้อง Sony Alpha 1 และเลนส์ SONY FE 200-600 MM.F/5.6-6.3 G OSS กับการถ่ายภาพนกแบบแอคชั่นในครั้งนี้ สิ่งที่ผมค้นพบก็คือ กล้องที่สมบรูณ์แบบทั้งในด้านความละเอียดของภาพ และด้านความเร็วในการบันทึกภาพต่อเนื่อง แม้มาอยู่ในเลนส์ที่ไม่ใช่ระดับ TOP แต่สิ่งที่ได้ไม่ว่าจะคุณภาพของภาพ และการได้มาซึ่งความคล่องตัวในการทำงานที่ทำให้สะดวกยิ่งขึ้น มีผลลัพธ์ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากซึ่งก็ปรากฏเป็นภาพถ่ายประกอบบทความชุดนี้อย่างที่ได้เห็นกันแล้ว
ในบทความตอนหน้าจะเป็นการจับคู่ของกล้องและเลนส์ในระดับ Top ซึ่งแน่นอนว่ายังมีอะไรที่น่าสนใจอีกมากจากกล้อง Sony alpha 1 คอยติดตามกันนะครับ…
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS
ถ่ายด้วย SONY a1 Lens FE 200-600 mm. F/5.6-6.3 G OSS